วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

          - ความสามารถเฉพาะบุคคลในการที่จะคิดอย่างเป็นนามธรรม มีเหตุผล ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำประสบการณ์จากการเรียนรู้มาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี ประเมินสถานการณ์ได้ใกล้เคียงตามความเป็นจริง ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย รวมทั้งมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเชาวน์ปัญญานั้น มีทฤษฎีที่สำคัญ ๆ ดังนี้
          1. ทฤษฎีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเพียเจต์ – ในการพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของบุคคลที่ต้องมีการปรับตัว ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ 2 อย่าง คือ การซึมทราบ หรือดูดซึม และการปรับโครงสร้างทางเชาวน์ปัญญา ซึ่งมีการแบ่งออกเป็นขั้น ๆ คือ ขั้นระดับก่อตั้ง และรวมรวบความคิด หรือเริ่มพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา ขั้นต่อมาคือการบรรลุถึงขั้นระดับเชาวน์ปัญญาขั้นที่หนึ่ง ขั้นต่อมาคือการพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาเป็นไปตามขั้นตอนและสุดท้ายคือขั้นที่เตรียมตัวเป็นรากฐานให้กับเชาวน์ปัญญาเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
          2. ทฤษฎีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของนีโอ-เพียเจต์ – มีแนวคิดคือการคิดของแต่ละบุคคล แต่ละวัยขึ้นอยู่กับความสามารถของบุคคลที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เก็บไว้ในความจำระยะสั้น การพัฒนาความคิดขึ้นอยู่กับกลไกการเปลี่ยนแปลง
          3. ทฤษฎีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของวิก็อทสกี้ – การพัฒนาของมนุษย์จะต้องเข้าใจวัฒนธรรมของเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดู เพราะตังแต่แรกเกิดมนุษย์จะได้รับปิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นผลงานของมนุษย์ วัฒนธรรมแต่ละวัฒนธรรมจะช่วงบ่งชี้ผลผลิตของการพัฒนาการของเด็ก เช่น เด็กควรจะเรียนรู้อะไรบ้าง ควรจะมีความสามารถใดบ้าง และนอกจากนี้ยังถือว่าภาษาเป็นเครื่องมือของการคิดและพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาขั้นสูงอีกด้วย
          - เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ คือ ผู้เรียนที่มีความต้องการในการศึกษาที่แตกต่างไปจากเด็กปกติเนื่องจากมีความจากมีความผิดปกติทางร่างกาย อารมณ์พฤติกรรม หรือสติปัญญา ซึ่งต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเหมาะสมและได้รับประโยชน์จากการศึกษาอย่างเต็มที่ การจัดการศึกษาให้แก่เด็กกลุ่มนี้ จึงต้องดำเนินการสอนโดยครูที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นพิเศษ มีเทคนิควิธีการสอน ที่แตกต่างไปจากเด็กปกติ การจัดเนื้อหาของหลักสูตร กิจกรรมการเรียนการสอน อุปกรณ์การสอนและวิธีการประเมินผลที่เหมาะสมกับสภาพและความสามารถของแต่ละบุคคล เพื่อพัฒนาให้เกิดศักยภาพสูงสุด
          - การเรียนร่วม คือ การจัดให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษและผู้เรียนที่พิการเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีการร่วมกิจกรรมและใช้ช่วงเวลาช่วงหนึ่งในแต่ละวันระหว่างผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ และผู้เรียนที่พิการกับผู้เรียนทั่วไป ซึ่งการเรียนร่วม อาจจัดกิจกรรมได้ต่าง ๆ หลากหลาย เช่น การจัดการเรียนร่วมกับชั้นเรียนปกติแบบเต็มวัน การจัดการเรียนร่วมกับชั้นเรียนปกติแบบเต็มวันและมีการให้บริการการปรึกษาหารืออย่างใกล้ชิด การจัดการเรียนร่วมกับชั้นเรียนปกติแบบเต็มวันและมีผู้สอนที่มีความสามารถในการสอนเด็กพิเศษมาคอยให้ความช่วยเหลือ เป็นต้น
          - การเรียนรวม คือ การรับผู้เรียนเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่อง หรือคัดแยกผู้เรียนที่ด้อยว่าผู้เรียนส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล ผู้สอนจะต้องปรับสภาพแวดล้อม หลักสูตรวัตถุประสงค์ เทคนิคการสอน สื่ออุปกรณ์ การประเมินผลเพื่อให้ผู้สอนและโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองความต้องการของเด็กทุกคนเป็นรายบุคคลได้

          - IEP และ IIP คือ แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) เป็นแผนกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาแก่ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ให้ได้รับการพัฒนาตามเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งการกำหนดสื่อ  สิ่งอำนวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ที่สอดคล้องเหมาะสมกับการเรียนรู้ และกับความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อให้ผู้สอนใช้เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนรายบุคคล และให้ผู้ปกครองได้ทราบว่าต้องปฏิบัติตัวเช่นไรกับผู้เรียน ส่วนแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) นั้นคือแผ่นการสอนที่จัดขึ้นเป็นเฉพาะบุคคลสำหรับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ซึ่งในการสอนนั้นต้องวัดผลตามสภาพที่เป็นจริง และสอดคล้องกับในจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ใน IEP เท่านั้น มีการประเมินผลที่ยืดหยุ่น และสอดคล้องกับสภาพความต้องการพิเศษของผู้เรียนแต่ละคน
          - ระดับปฐมวัย การพัฒนาการของผู้เรียนในระดับนี้ จะเริ่มทำกิจกรรม และใช้ภาษาในการสื่อสารกับผู้อื่นได้มากขึ้น อวัยวะต่าง ๆ ยังไม่สามารถที่จะทำงานสอดคล้องกันมากนัก ผู้สอนควรที่จะจัดกิจกรรมสร้างเสริมให้ผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ผู้เรียนในวัยนี้ยังมีความคิดความเข้าใจที่เกี่ยวกับการรับรู้ทางตาเท่านั้น ยังไม่สามารถเข้าใจด้วยเหตุผลได้ ซึ่งการจัดการเรียนการสอนนั้น อาจจะให้อยู่ในรูปแบบของการสร้างความคิดรวบยอดให้กับสิ่งต่าง ๆ โดยใช้การรับรู้ลักษณะภายนอกที่เด่นชัด จำแนกแยกแยะจัดหมวดหมู่จากภาพที่เห็น การพัฒนาทางอารมณ์นั้นเด็กจะเลียนแบบการแสดงท่าทางจากพ่อ แม่ ครู อาจารย์เป็นต้น เด็กต้องการเป็นตัวของตัวเอง การยอมรับและความเอาใจใส่ช่วยการวางรากฐานทางอารมณ์ และปรับตัวได้อย่างเหมาะสม ควรยอมรับอารมณ์ความรู้สึกของเด็ก ควรหลีกเลี่ยงการลงโทษทั้งทางร่างกาย และจิตใจ เด็กที่ได้รับการดูแลให้ความรู้สึกอิ่มอุ่น หรือสบาย ย่อมเชื่อมโยงระหว่างความรู้สึกเป็นสุข ความรัก และความผูกพันกับคนเหล่านั้น และบางครั้งความกลัวของเด็กก็อาจจะเกิดจากการวางเงื่อนไข ส่วนอารมณ์โกรธอาจเกิดจากข้อจำกัดทางร่างกาย หรือการไม่เข้าใจความคิดของผู้อื่นก็อาจทำให้เกิดความขัดแย้งคับข้องใจ เด็กมักใช้จินตนาการสร้างการตอบสนองต่อตนเอง เช่นการสร้างเพื่อนในความคิด แต่ยังไงเด็กก็ยังต้องการการดูแล จากผู้ใหญ่ด้วยการซักถาม ออดอ้อน เอาใจเป็นต้น เด็กเริ่มมองเห็นความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิง ส่วนมากเด็กเลียนแบบบทบาทผู้ที่ตนประทับใจเพศเดียวกับตน เด็กอาจเรียนรู้จากการสั่งสอนอบรมและจากการสังเกต เป็นรากฐานการแสดงออก จากที่เด็กชอบเล่นตามลำพังในช่วงอายุ 2 – 3 ขวบ ต่อมาเด็กจะเล่นอยู่ในกลุ่มเพื่อน โดยที่ยังไม่เล่นด้วยกันในช่วงอายุ 3 – 4 ขวบ หลังจากนั้นเด็กจึงจะเรียนรู้ที่จะเล่นด้วยกัน จนถึงขั้นของการสร้างมิตรภาพกับผู้อื่นในช่วง 4 – 5 ขวบ ในระยะนี้เด็กจะได้เรียนรู้ พัฒนาจากการที่สนใจแต่ตนเองไปสู่การเข้าใจความรู้สึกของเพื่อนมากขึ้น เรียนรู้การให้ และการรับ การผูกมิตรกับเพื่อน ๆ เด็กรวมกลุ่ม และหมุนเวียนกันเป็นผู้นำตามความสามารถ สามรถปรับตัวทางสังคมได้อย่างเหมาะสม อยากทดลองทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองอย่างอิสระ เริ่มรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง เด็กมนระยะนี้จึงควรได้รับโอกาส และการสนับสนุนตามความถนัด ความสามารถ ความสนใจ ที่รู้สึกว่าตนเองมีความสามารถ ก้อให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง เด็กวัยอนุบาลสามารถเรียนรู้ได้จากประสาทสัมผัส ประสบการณ์ตรงของตนเอง ยึดตนเองเป็นหลัก ยังไม่เข้าใจความคิดความรู้สึกของคนอื่น ไม่รู้จักการเอาใจเขามาใส่ใจเรา เด็กเริ่มเข้าใจในสิ่งแวดล้อม และเขาเพิ่งได้รู้จักใช้ความสามารถทางร่างกายจึงทำให้เขากระตือรือร้นที่จะแสดงความสามรถเหล่านั้นออกมา เด็กสามารถคิดเปรียบเทียบ จัดลำดับ แยกหมวดหมู่ได้บ้าง แต่ยังไม่เข้าใจเรื่องน้ำหนัก ปริมาตร ปริมาณของวัตถุ ดังนั้นจึงควรให้โอกาสเด็กสำรวจเรียนรู้ และมีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งการได้รับคำชมเชยความสามารถที่เป็นจริงทำให้มั่นใจ ภาคูมิใจที่จะพัฒนาความสามารถของตนเองให้มากขึ้น การฝึกทักษะการใช้ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของร่างกายช่วยกระตุ้นให้ก่อเกิดความคิด ระยะนี้เด็กจะเริ่มเรียนรู้ และเจ้าใจเรื่องจริยธรรมคิดว่าสิ่งที่ถูกต้องคือทำตามสิ่งที่ผู้ใหญ่ชมหรืออนุญาต และมองสิ่งที่ไม่ถูกต้องคือสิ่งที่ผู้ให้ห้าม หรือการกระทำที่ทำแล้วจะถูกลงโทษเด็กในวัยนี้จะเรียนรู้การแสดงออกตามความสามารถ และเริ่มมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ครูควรปล่อยให้เกิดการพัฒนาตามวัยให้มากที่สุด ในทางกลับกันหากมีการเร่งรัดให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับพัฒนาการของวัยแล้วก็จะไม่เป็นผลดีกับเด็ก
          - ระดับประถมศึกษา การพัฒนาการของผู้เรียนในระดับนี้ สามารถที่จะฝึกทำสิ่งต่าง ๆ และสร้างทักษะด้วยตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นการเล่น การเรียน หรือการทำงานร่วมกับเพื่อน ตลอดจนการสร้างมิตรภาพกับเพื่อน ๆ ที่มีความสนใจเหมือน ๆ กันระบบกล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหวเรื่องมีการทำงานประสานกันดีขึ้น ในวัยนี้นั้นสามารถที่จะจัดเรียงลำดับได้ดีขึ้น นับว่าเป็นขั้นของการวางรากฐานของการศึกษา จำเป็นต้องพัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้จากการฟัง พูด อ่าน เขียน คิด ผู้เรียนสามารถที่จะเข้าใจ และคิดเชิงเหตุผลได้ จึงสามารถที่จะเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ คณิตศาสตร์ เริ่มคิดในสิ่งที่เป็นนามธรรม และเน้นการพัฒนาการทางภาษาควบคู่ไปด้วย โดยเด็กในวัยนี้มีพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อ และระบบประสาทที่ก้าวหน้ามาก ลักษณะทางร่างกายทั่งไปอยู่ในช่วงอายุประมาณ 7 – 8 ขวบนั้น เด็กจะมีการพัฒนาการเจริญเติบโตช้าแต่สม่ำเสมอ กระดูกมือยังไม่แข็งแรง ฟันน้ำนมจะหลุดออกโดยมฟันแท้งอกออกมาแทนที่ รูปร่างสูงเพรียวกว่าเดิม ลำตัวยาว แขนขายาวออก รูปร้างเริ่มเปลี่ยนแปลงแบบลักษณะผู้ใหญ่ ระบบหมุนเวียนโลหิตเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะเด็กชายสามารถใช้กล้ามเนื้อใหญ่ และกล้ามเนื้อย่อยคล่องแคล่วมากกว่าวัยอนุบาล และมีทักษะการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อได้ดี ชอบทำกิจกรรม ชอบออกกำลังกาย และเล่นกีฬากลางแจ้งที่ต้องใช้ความรวดเร็ว ทั้งนี้พัฒนาการด้านส่วนสูง และน้ำหนักของเด็กแต่ละคนอาจเป็นผลจากพันธุกรรม หรือสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และสังคม ประสาทสัมผัสของเด็กวัยนี้สามารถที่จะทำกิจกรรมที่มีรายละเอียดได้ เช่น การวาดรูป ระบายสี ปั้นรูป เป็นต้น เด็กสามารถทำกิจกรรมจ่าง ๆ ด้วยตัวเองได้ การใช้เวลาส่วนใหญ่จะหมดไปกับเพื่อนเป็นกลุ่ม เด็กชายชอบเล่นกีฬา ชอบการต่อสู้ไล่จับ และการแสดงโลดโผน ลักษณะทางอารมณ์ เด็กเริ่มลดความคิดที่ว่าตนเองเป็นศูนย์กลาง สามารถทำความเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นมากขึ้น ควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น เด็กในวัยนี้เริ่มเรียนรู้การแสดงออกที่เหมาะสม ได้รับการยอมรับเมื่อเกิดอารมณ์ มีการเรียนรู้การปรับอารมณ์ความรู้สึก ในวัยนี้การได้เป็นสมาชิกของกลุ่มจะมีอินทธิพลต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กเป็นสำคัญ เด็กจะเริ่มเรียนรู้ว่าการแสดงอารมณ์ที่ตนเองรู้สึกโดยเลือกเวลา สถานที่ บุคคล ทั้งนี้ความสามารถควบคุมอารมณ์ขึ้นอยู่กับการฝึกอบรม จากงานวิจัยได้กล่าวว่า วัยประถมศึกษาเป็นวัยที่ผู้ใหญ่ส่วนมากจะระบุว่าเป็นวัยที่มีความสุขที่สุด แม้ว่าวันรุ่นบางคนยังอยากจะกลับไปอยู่ในวัยประถม เด็กแสดงอารมณ์ความรู้สึกอย่างเปิดเผย เรียงร้องความรักความสนใจจากครู ด้วยการช่วยทำกิจกรรมต่าง ๆ ในระยะนี้ เด็กจะเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองมากขึ้น เข้าใจอารมณ์ของตนเอง รู้จักควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกและแสดงออกอย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้นตามควรแก่วัย ในช่วงวัยนี้ เด็กมีความกลัวที่ค่อนข้างสมเหตุสมผล มากกว่าวัยเด็กเล็ก เพราะเด็กมีพัฒนาการด้านความคิดที่มีเหตุผลมากขึ้น มีความเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น เด็กอาจเกิดความรู้สึกด้านลบต่อสิ่งต่าง ๆ หากตนเองถูกขัดขวางไม่ให้ไปถึงเป้าหมาย เด็กอาจหนีปัญหาด้วยการใช้กลไกในการป้องกันตัว เช่นการโทษว่าสิ่งที่ผิดพลาดนั้นตนเองไม่ได้ทำ แต่เป็นการกระทำความผิดพลาดของผู้อื่นเป็นต้น การพัฒนาทางสังคมนั้น เด็กเริ่มให้ความสำคัญกับอาจารย์ ก่อนที่จะก้าวต่อไปสู่เพื่อนในวัยรุ่น เด็กต้องการเรียนรู้การใช้ชีวิตที่เป็นอิสนะ ทั้งเด็กผู้ชาย และเด็กผู้หญิง พอใจที่จะแยกตัวออกจากเพศตรงข้ามตั้งกลุ่มกับเพื่อนเพศเดียวกัน ร่วมกันสร้างกฎเกณฑ์ ค่านิยม และบรรทัดฐานที่คนในกลุ่มยอมรับ เด็กเรียนรู้การดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น เริ่มเรียนรู้บทบาททางสังคมของตนเอง การปรับตัวเข้ากับเพื่อเพศเดียวกันวัยเดียวกัน ได้รับอิทธิพลด้านความคิด เจตคติ ค่านิยมจากกลุ่ม ในบางกรณีค่านิยมของกลุ่มอาจขัดแย้งกับค่านิยมเดิม เด็กเรียนรู้จากการสังเกตเพื่อในวัยเดียวกับตนและเลียนแบบจากผู้ใหญ่เพศเดียวกัน เด็กเริ่มมีความรับผิดชอบมากขึ้น เด็กจะเลือกหัวหน้ากลุ่มโดยดูจากความสามารถ และลักษณะของกิจกรรม เด็กเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมวัย ส่วนใหญ่เล่นกิจกรรมตามจินตนาการ หรือบทบาทสมมุติมากกว่าการเล่นแบบแข่งขัน กลุ่มเพื่อนร่วมวัยเริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างมาก และจะทวีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ เด็กจะรู้สึกสนุกสนานอบอุ่นใจเมื่อตนมีส่วนร่วมในกลุ่ม รู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของกลุ่ม ขณะเดียวกันเด็กจะคลายความผูกพันระหว่างตนเองกับครู และผู้ใหญ่ ทั้งในและนอกบ้าน เด็กได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนในด้านอารมณ์ ความคิด เจตคติ ค่านิยม ความมุ่งหวัง หรือแม้แต่การแสดงออกตามบทบาททางเพศ ฯลฯ เด็กในวัยนี้ค่อนข้างให้ความสำคัญกับการเข้ากลุ่มทำให้เด็กพยายามปรับตัวให้เพื่อนในกลุ่มยอมรับ บางคนเป็นผู้นำ บางคนเป็นผู้ตาม บางคนพูดเก่ง บางคนเป็นผู้ฟัง เป็นต้นวัยเด็กตอนปลายรวมกลุ่ม เป็นเพศชายทั้งกลุ่มหรือเพศหญิงทั้งกลุ่ม มีวัฒนธรรมของกลุ่ม ภาษา กฎ ระเบียบเป็นแนวทางการปฏิบัติตามวัฒนธรรมกลุ่ม เด็กวัยนี้เรียนรู้บทบาททางเพศต่อเนื่องมาจากวัยเด็กตอนต้น เริ่มด้วยการเลียนแบบบทบาททางเพศจากผู้ใกล้ชิด คนในครอบครัวคนที่ตนประทับใจ เด็กชายมักไม่ยอมให้เด็กชายที่มีนิสัยเหมือนเด็กหญิงเข้ากลุ่ม เช่น ขี้กลัว ช่างฟ้อง งอแง ส่วนกลุ่มเด็กหญิงจะกีดกันเด็กหญิงที่มีลักษณะที่ดูเหมือนเด็กชายเช่น ก้าวร้าว หยาบคาย เป็นต้น ลักษณะทางสติปัญญาของเด็กในวัยนี้มีพัฒนาการอยู่ในขั้นของการเริ่มมีความคิดความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงรูปธรรม เช่น สามารถเข้าใจเกี่ยวกับการคงสภาพเดิมของน้ำหนัก (อายุประมาณ 6 ปี) เข้าใจเกี่ยวกับการคงสภาพเดิมของปริมาณ (อายุประมาณ 7 ปี) เข้าใจเกี่ยวกับการคงสภาพเดิมของปริมาตรของวัตถุ (อายุประมาณ 5 ปี) ทั้งนี้เด็กยังมีความสามารถที่จะจัดเรียงลำดับได้ดีขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นระยะเวลาของการวางรากฐานของการศึกษา พัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้จากการฟัง พูด อ่าน เขียน คิด ทั้งในแนวกว้างและแนวลึกตามวัย สามารถที่จะเข้าใจและสามารถคิดเชิงเหตุผล แยกหมวดหมู่ จัดลำดับ เรียงลำดับจากเล็กไปหาใหญ่ สามารถคิดย้อนกลับไปมาได้ สามารถที่จะเข้าใจความหมาย สัญลักษณ์ คณิตศาสตร์ เริ่มคิดในสิ่งที่เป็นนามธรรม พัฒนาการทางภาษามีความเจริญก้าวหน้าขึ้นไปอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ความสามารถในการเรื่องจำนวนว่ายังคงที่แม้ว่าวัตถุจะวางอยู่ห่างกัน การสลับที่ของวัตถุไม่ทำให้จำนวนหรือความยาวเปลี่ยนไป พื้นที่ของกระดาษครึ่งแผ่นเท่ากับพื้นที่ของกระดาษครึ่งแผ่นเดิมก่อนถูกตัด ดินน้ำมันสองก้อนมีน้ำหนักเท่ากันแม้ว่าจะกดก้อนหนึ่งให้แบนออกไป สามารถจัดหมวดหมู่สิ่งต่าง ๆ เป็นหลายมิติ มีความเข้าใจการคงสภาพของสสาร ปริมาณ น้ำหนัก สามารถจัดเรียงลำดับ ครอบครัวและสังคมคาดหวังว่าเด็กจะต้องเรียนรู้อย่างจริงจังมากกว่าวัยอนุบาล ควรอ่านหนังสือออก คิดเลขได้และมีความรู้รอบตัวที่สามารถพึ่งตนเองได้ ดังนั้นครูและนักจิตวิทยาจึงควรให้ความสำคัญกับเด็กที่ผลการเรียนไม่สอดคล้องกับความสามารถทั้ง ๆ ที่ไม่มีความบกพร่องทางสติปัญญา แต่อาจมีความบกพร่องที่มองไม่เห็นโดยตรง

          - ระดับมัธยมศึกษา การพัฒนาการของผู้เรียนในระดับนี้ อยู่ในช่วงของวัยรุ่น ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญในการปรับตัว เริ่มที่จะมีความรับผิดชอบตนเอง มีการเจริญเติบโตของร่างกายไปอย่างรวดเร็ว เริ่มมีการแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างชัดเจน เมื่อลักษณะทางร่างกายเจริญเติบโตจนสามารถทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ ลักษณะทางเพศขั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิ ร่างกายของวัยรุ่นจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็วรูปร่างทรวดทรงเปลี่ยน โดยที่แสดงถึงความเป็นหญิงความเป็นชายอย่างเต็มที่ เป็นการเปลี่ยนจากเด็กที่ไม่มีความสมบูรณ์ทางเพศไปสู่ความสมบูรณ์ทางเพศที่พร้อมจะสืบพันธุ์ทางร่างกายได้ อวัยวะเพศเติบโตเต็มที่และพร้อมที่จะทำหน้าที่ได้เช่นเดียวกับวัยผู้ใหญ่ ลักษณะความเจริญเติบโตของร่างกายภายนอก โครงสร้างของร่างกายส่วนกระดูกและฟันเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปกระดูกของเพศหญิงเติบโตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 17-18 ปี ส่วนเพศชายเติบโตเต็มที่เมื่ออายุประมาณช้ากว่าประมาณ 2 ปี คืออายุประมาณ 19-21 ปี ในด้านพัฒนาการเกี่ยวกับฟันของวัยรุ่นนั้น เมื่อเริ่มเข้าสูวัยรุ่นนั้นเพศชายและหญิงมีฟันแท้ 28 ซี่ จนเมื่อสิ้นสุดวัยรุ่นก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่จึงมีฟันแท้ครบ 32 ซี่ ส่วนพัฒนาการด้านลำตัว รูปร่างหน้าตา ทรวดทรงเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ลำตัว ขา มือ เท้าพัฒนาขึ้น เพศหญิงจะมีกระดูกเชิงกรานขยายตัวออกทำให้เอวคอดสะโพกขยายออก หน้าอกขยายขึ้น เด็กชายมีกระดูกหัวไหล่ขยายตัวทำให้ไหล่กว้างขึ้น เสียงต่ำลง มีหนวดเครา เป็นต้น ลักษณะของสรีระวิทยาภายในร่างกายได้รับอิทธิพลจากต่อมไร้ท่อทั้งต่อมใต้สมอง และต่อมเพศหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของระบบประสาทและสมอง ทำให้เด็กวัยรุ่นสามารถรับรู้ เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เชาว์ปัญญาพัฒนาขึ้นมาก ส่วนระบบย่อยอาหารจะพัฒนาการให้รับกับพลังงานจากการรับประทานอาหารได้อย่างสอดคล้องและสมบูรณ์ การพัฒนาการทางสังคม เด็กวัยนี้ได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน เป็นวัยของการทำกิจกรรมอันเป็นรากฐานของการสร้างสัมพันธภาพทางสังคมในอนาคต การแสวงหาประสบการณ์จากการทำกิจกรรม ต่าง ๆ ในบทบาทของผู้นำ ผู้ตามในกลุ่มซึ่งช่วยให้เด็กวัยรุ่นได้สำรวจคุณลักษณะ ความถนัด ความสนใจ ทัศนคติ ค่านิยม ภาพสะท้อนของตนเองจากบุคคลที่แวดล้อม เช่น กลุ่มเพื่อน ครู บิดามารดา เป็นส่วนหนึ่งที่สังคมเอื้ออำนวยให้วัยรุ่นได้เห็นเอกลักษณ์ของตนเอง และตำแหน่งทางสังคมที่ตนเองดำรงอยู่เด็กวัยรุ่นจะเกิดความเข้าใจในบทบาททางสังคมของตนเองที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เด็กวัยรุ่นให้ความสนใจ และยกย่องบุคคลที่ตนให้คุณค่า และพยายามเลียนแบบบุคคลนั้น การเข้าสู่สังคมมีความหมายต่อวัยรุ่นมากกว่าวัยเด็กเพราะไม่ใช่เพียงการแสวงหาการยอมรับจากเพื่อนในกลุ่มเท่านั้นแต่หมายถึงการมีส่วนได้รับการมีส่วนร่วมเสมือนการเป็นเจ้าของบ้าน การมีกลุ่มสนับสนุนทำให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยพอที่จะแยกออกจากครอบครัวมาเปิดรับประสบการณ์ใหม่ในสังคม เรียนรู้บทบาททางสังคมของการมีส่วนร่วมรับผิดชอบในกลุ่มที่เป็นเสมือนตัวแทนของสังคมใหญ่ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ วัยรุ่นเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพ ความสามารถพึ่งตนเองเป็นอิสระจากพ่อแม่วัยรุ่นต้องการให้ผู้ใหญ่ปฏิบัติต่อเขาอย่างเท่าเทียมกับผู้ใหญ่ ไม่ต้องการให้ผู้ใหญ่ปฏิบัติต่อตัวเอง เช่น เด็กเล็กๆอีกต่อไปหากผู้ใหญ่ไม่ใช้เหตุผลแต่ใช้อำนาจบังคับวัยรุ่นจะดื้อดึงทำในสิ่งตรงกันข้าม วัยรุ่นกับเพื่อนวัยเดียวกันเด็กให้ความสำคัญกับกฎและบรรทัดฐานของกลุ่ม เป็นวัยที่ได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนค่อนข้างมาก วัยรุ่นที่รู้สึกว่าตนเองไม่มีความสามารถ เห็นคุณค่าตนเองน้อยคล้อยตามและมักจะทำตามความคาดหวังของกลุ่ม เด็กที่เพื่อนถือเป็นแบบคือผู้ที่เป็นผู้นำมีความสามารถที่กลุ่มยอมรับ มีบุคลิกภาพดึงดูดใจ สามารถให้รางวัลและลงโทษได้ วัยรุ่นแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง เริ่มจากเลือกคนที่มีชื่อเสียงเป็นบุคคลในอุดมคติ อาจเป็นดาราภาพยนตร์ นักกีฬา แล้วพยายามพัฒนาตนตามนั้น แสวงหาประสบการณ์จาก การทำกิจกรรมนอกหลักสูตร การเล่นกีฬา เป็นต้น เพศหญิงเริ่มสนใจเพศตรงข้ามก่อนเพศชาย การปรับตัวกับเพศตรงข้าม ควรให้วัยรุ่นรู้สึกว่าผู้ใหญ่รัก ปรารถนาดีพร้อม ๆ กับเชื่อมั่นไว้วางใจ การตรวจสอบค่านิยมและเจตคติอาจทำให้เกิดความขัดแย้ง กับค่านิยม ประเพณีวัฒนธรรมที่ตั้งอยู่เดิม สมองของวัยรุ่นเจริญเกือบเท่าวัยผู้ใหญ่ตอนต้น มีพัฒนาการทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ สามารถเรียนรู้สิ่งที่เป็นเรื่องซับซ้อนนามธรรม สามารถคิดนามธรรมได้โดยไม่ต้องมีวัตถุเป็นสื่อ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ไขปัญหาได้ มีความคิดแบบอุดมคติ วัยรุ่นมีความเข้าใจเรื่องค่านิยมและเลือกค่านิยมที่สอดคล้องกับตนเองมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต เป็นวัยที่มีศักยภาพสูง ต้องการแสดงความเป็นตัวของตัวเอง ต้องการอิสระในการแสดงออก สามารถคิดนามธรรมโดยไม่ใช้วัตถุเป็นสื่อได้ สามารถคิดรวบยอด วิเคราะห์ ตีความหมาย ตั้งสมมติฐานเพื่อแสวงหาความเป็นจริง พัฒนาความคิดเชิงอุดมคติที่เข้มข้น มีพลังศักยภาพสูง ต้องการอิสระในการแสดงความคิดเห็น สิ่งแวดล้อม ที่เหมาะสมจะส่งเสริมสนับสนุนให้สติปัญญาที่ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากพันธุกรรมได้เจริญงอกงามอย่างเต็มที่ ซึ่งพัฒนาการของวัยรุ่นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตก้าวต่อไปเพราะเป็นก้าวที่สำคัญของชีวิตที่มนุษย์เริ่มต้นสู่การเป็นตัวของตัวเอง พึ่งตนเอง เตรียมก้าวสู่โลกกว้างของการเรียนรู้และสร้างชีวิตใหม่และการเป็นหัวหน้าครอบครัวต่อไป
ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม 

ดวงเดือน พันธุมนาวิน ได้ทำการศึกษาวิจัยถึงสาเหตุพฤติกรรมของคนดีและคนเก่ง โดยได้ทำการประมวลผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา สาเหตุของพฤติกรรมต่าง ๆ ของคนไทยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่ 6-60 ปี ว่าพฤติกรรมเหล่านั้น มีสาเหตุทางจิตใจอะไรบ้าง และ ได้นำมาประยุกต์เป็นทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมสำหรับคนไทยขึ้น โดยแบ่งต้นไม้จริยธรรม ออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 

ส่วนที่หนึ่ง ได้แก่ ดอกและผลไม้บนต้น ที่แสดงถึงพฤติกรรมการทำดีละเว้นชั่วและพฤติกรรมการทำงานอย่างขยันขันแข็งเพื่อส่วนรวม ซึ่งล้วนแต่เป็นพฤติกรรมของพลเมืองดี พฤติกรรมที่เอื้อเฟื้อต่อการพัฒนาประเทศ 

ส่วนที่สอง ได้แก่ ส่วนลำต้นของต้นไม้ แสดงถึงพฤติกรรมการทำงานอาชีพอย่าง ขยันขันแข็ง ซึ่งประกอบด้วยจิตลักษณะ 5 ด้าน คือ 

1)
เหตุผลเชิงจริยธรรม 
2)
มุ่งอนาคตและการควบคุมตนเอง 
3)
ความเชื่ออำนาจในตน 
4)
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 
5)
ทัศนคติ คุณธรรมและค่านิยม 

ส่วนที่สาม ได้แก่ รากของต้นไม้ ที่แสดงถึงพฤติกรรมการทำงานอาชีพอย่างขยันขันแข็งซึ่งประกอบด้วยจิตลักษณะ 3 ด้าน คือ 

1)
สติปัญญา 
2)
ประสบการณ์ทางสังคม 
3)
สุขภาพจิต

จิตลักษณะทั้งสามนี้อาจใช้เป็นสาเหตุของการพัฒนาจิตลักษณะ 5 ประการ ที่ลำต้นของต้นไม้ก็ได้ กล่าวคือ บุคคลจะต้องมีลักษณะพื้นฐานทางจิตใจ 3 ด้าน ในปริมาณที่สูงพอเหมาะกับอายุ จึงจะเป็นผู้ที่มีความพร้อมที่จะพัฒนาจิตลักษณะทั้ง 5 ประการ ที่ลำต้นของต้นไม้ โดยที่จิตทั้ง 5 ลักษณะนี้จะพัฒนาไปเองโดยอัตโนมัติ ถ้าบุคคลที่มีความพร้อมทางจิตใจ 3 ด้านดังกล่าวและอยู่ในสภาพแวดล้อมทางครอบครัวและสังคมที่เหมาะสม นอกจากนั้นบุคคลยังมีความพร้อมที่จะรับการพัฒนาจิตลักษณะบางประการใน 5 ด้านนี้ โดยวิธีการอื่น ๆ ด้วย ฉะนั้นจิตลักษณะพื้นฐาน 3 ประการ จึงเป็นสาเหตุของพฤติกรรมของคนดีและของคนเก่งนั่นเอง นอกจากนี้จิตลักษณะพื้นฐาน 3 ประการที่รากนี้ อาจเป็นสาเหตุร่วมกับจิตลักษณะ 5 ประการที่ลำต้น หากบุคคลมีพื้นฐานทางด้านจิตใจเป็นปกติและได้รับประสบการณ์ทางสังคมที่เหมาะสม บุคคลนั้นก็จะสามารถพัฒนาโดยธรรมชาติ แต่ในสังคมไทยมีการวิจัยพบว่าพัฒนาการหยุดชะงักอย่างไม่เหมาะสมกับวัย กล่าวคือ ผู้ใหญ่จำนวนหนึ่งซึ่งสมควรพัฒนาการใช้เหตุผลไปถึงขั้นสูงแล้วแต่ยังหยุดชะงักที่ขั้นต่ำ เช่น ยังยึดหลักแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ส่วนตนและส่วนพวกพ้อง เป็นต้น บุคคลที่มีแรงจูงใจดังกล่าวจึงยังไม่สามารถคิดประโยชน์เพื่อสังคมได้ 

ดังนั้น บุคคลจึงควรมีการตรวจสอบจริยธรรมของตัวเองอยู่ตลอดเวลา การบันทึกกิจกรรมที่ได้กระทำแต่ละวันทำให้ได้ข้อมูล เพื่อใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ ดีงามยิ่งขึ้น ซึ่งการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติหรือกิจกรรมที่ได้กระทำ เสมือนการปฏิบัติธรรมโดยวิธี นั่งสมาธิ เพราะในขณะที่จิตกำลังทบทวนสิ่งที่ได้กระทำ เสมือนเป็นการพิจารณาตัวเอง พิจารณาการกระทำดีและไม่ดี ในขณะที่จิตพิจารณาก็จะเกิดสมาธิ และเมื่อได้พิจารณาตนเองแล้ว ก็สามารถเข้าใจตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ซึ่งเป็นเสมือนเกิดปัญญาในการนำพาชีวิตผ่านพ้นทุกข์ได้


 ดวงเดือน พันธุมนาวิน ได้ทำการศึกษาวิจัยถึงสาเหตุพฤติกรรมของคนดีและคนเก่ง โดยได้ทำการประมวลผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา สาเหตุของพฤติกรรมต่าง ๆ ของคนไทยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่ ๖-๖๐ ปี ว่าพฤติกรรมเหล่านั้น มีสาเหตุทางจิตใจอะไรบ้าง และ ได้นำมาประยุกต์เป็นทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมสำหรับคนไทยขึ้น โดยแบ่งต้นไม้จริยธรรม ออกเป็น ๓ ส่วน ดังนี้


·         ส่วนที่หนึ่ง ได้แก่ ดอกและผลไม้บนต้น ที่แสดงถึงพฤติกรรมการทำดีละเว้นชั่วและพฤติกรรมการทำงานอย่างขยันขันแข็งเพื่อส่วนรวม ซึ่งล้วนแต่เป็นพฤติกรรมของพลเมืองดี พฤติกรรมที่เอื้อเฟื้อต่อการพัฒนาประเทศ
·         ส่วนที่สอง ได้แก่ ส่วนลำต้นของต้นไม้ แสดงถึงพฤติกรรมการทำงานอาชีพอย่าง ขยันขันแข็ง ซึ่งประกอบด้วยจิตลักษณะ ๕ ด้าน คือ
๑) เหตุผลเชิงจริยธรรม
๒) มุ่งอนาคตและการควบคุมตนเอง
๓) ความเชื่ออำนาจในตน
๔) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
๕) ทัศนคติ คุณธรรมและค่านิยม
·         ส่วนที่สาม ได้แก่ รากของต้นไม้ ที่แสดงถึงพฤติกรรมการทำงานอาชีพอย่างขยันขันแข็งซึ่งประกอบด้วยจิตลักษณะ ๓ ด้าน คือ
๑) สติปัญญา
๒) ประสบการณ์ทางสังคม
๓) สุขภาพจิต
·         จิตลักษณะทั้งสามนี้อาจใช้เป็นสาเหตุของการพัฒนาจิตลักษณะ ๕ ประการ ที่ลำต้นของต้นไม้ก็ได้ กล่าวคือ บุคคลจะต้องมีลักษณะพื้นฐานทางจิตใจ ๓ ด้าน ในปริมาณที่สูงพอเหมาะกับอายุ จึงจะเป็นผู้ที่มีความพร้อมที่จะพัฒนาจิตลักษณะทั้ง ๕ ประการ ที่ลำต้นของต้นไม้ โดยที่จิตทั้ง ๕ ลักษณะนี้จะพัฒนาไปเองโดยอัตโนมัติ ถ้าบุคคลที่มีความพร้อมทางจิตใจ ๓ ด้านดังกล่าวและอยู่ในสภาพแวดล้อมทางครอบครัวและสังคมที่เหมาะสม นอกจากนั้นบุคคลยังมีความพร้อมที่จะรับการพัฒนาจิตลักษณะบางประการใน ๕ ด้านนี้ โดยวิธีการอื่น ๆ ด้วย
ฉะนั้นจิตลักษณะพื้นฐาน ๓ ประการ จึงเป็นสาเหตุของพฤติกรรมของคนดีและของคนเก่งนั่นเอง นอกจากนี้จิตลักษณะพื้นฐาน ๓ ประการที่รากนี้ อาจเป็นสาเหตุร่วมกับจิตลักษณะ ๕ ประการที่ลำต้น หากบุคคลมีพื้นฐานทางด้านจิตใจเป็นปกติและได้รับประสบการณ์ทางสังคมที่เหมาะสม บุคคลนั้นก็จะสามารถพัฒนาโดยธรรมชาติ แต่ในสังคมไทยมีการวิจัยพบว่าพัฒนาการหยุดชะงักอย่างไม่เหมาะสมกับวัย กล่าวคือ ผู้ใหญ่จำนวนหนึ่งซึ่งสมควรพัฒนาการใช้เหตุผลไปถึงขั้นสูงแล้วแต่ยังหยุดชะงักที่ขั้นต่ำ เช่น ยังยึดหลักแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ส่วนตนและส่วนพวกพ้อง เป็นต้น บุคคลที่มีแรงจูงใจดังกล่าวจึงยังไม่สามารถคิดประโยชน์เพื่อสังคมได้



ทฤษฎีเกี่ยวกับการสอนของบรูเนอร์
(Bruner’s Theory of Instruction)

          Jerome S.Bruner เป็นผู้ที่มีความเห็นว่าในการจัดการเรียนการสอนนั้น ครูสามารถช่วยจัดประสบการณ์เพื่อช่วยให้เด็กเกิดความพร้อมได้  โดยไม่ต้องรอให้เด็กพร้อมตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นการเสียเวลา  นั่นหมายความว่าตามความคิดเห็นของบรูเนอร์แล้ว ความพร้อมเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดเร็วขึ้นได้

ภูมิหลัง (Bruner’s Background)
          บรูเนอร์เกิดในเมืองนิวยอร์คในปี ค.ศ. 1915 พ่อแม่หวังจะให้เป็นนักกฎหมาย แต่เขากลับมาสนใจทางจิตวิทยา และได้ปริญญาเอกทางจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด   ในปี ค.ศ. 1962  ได้รับรางวัลในฐานะที่มีผลงานดีเด่น  คือ  Distinguished Scientific Contri-bution Award จากสมาคมจิตวิทยาของอเมริกา (APA) ต่อมาในปี ค.ศ.1964 ได้เป็นประธานของ The American Psychological Association (APA) ปัจจุบันเป็นสมาชิกของ Department of Experimental Psychology ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และในขณะนี้มีตำแหน่งเป็นผู้-อำนวยการของ Harvard’s Center for Cognitive Studies.

หลักการสำคัญ
          บรูเนอร์ได้เสนอว่าในการจัดการศึกษานั้น  ควรที่จะได้คำนึงถึงทฤษฎีพัฒนาการ ว่าเป็นตัวเชื่อมระหว่าง ทฤษฎีความรู้ และ ทฤษฎีการสอน (A theory of development must be link both to a theory of knowledge and to a theory of instruction) ซึ่งหมายความว่า ทฤษฎีพัฒนาการ จะเป็นตัวกำหนดเนื้อหา (knowledge) และวิธีการสอน (instruction) ในการที่จะนำเนื้อหาใดมาสอนเด็ฏนั้น ควรจะได้พิจารณาดูว่าในขณะนั้นเด็กมีพัฒนาการอยู่ในระดับใด มีความสามารถเพียงใด เราก็ปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็กที่จะเรียน หรือที่จะรับรู้ได้ โดยใช้วิธีการให้เหมาะสมกับเด็กในวัยนั้น ดังนั้น เราก็ สามารถสอนให้เด็กเกิดความพร้อมได้โดยไม่ต้องรอ ดังที่บรูเนอร์ได้กล่าวว่า “เราจะสามารถสอนวิชาใด ๆ ก็ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้วิธีการที่เหมาะสมให้กับเด็กคนใดคนหนึ่งในระดับอายุใด ก็ได้.... “any subject can be taught effectively in some intellectually honest form to any child at any stage of development (1960).
          ซึ่งความพร้อมในที่นี้ของบรูเนอร์หมายถึงความสามารถที่เด็กจะเรียนทักษะอย่างง่าย ๆ ได้ก่อน  ซึ่งทักษะนี้เป็นพื้นฐานของทักษะที่ยากต่อไป  ซึ่งบรูเนอร์ได้กล่าวว่า..one teaches readiness or provides opportunities for its nurture; one does not simply wait- for it. Readiness, in these terms, consists of mastery of those simple skills that permit one- to reach higher skills”
          บรูเนอร์มองเห็นว่าในการจัดการศึกษานั้น ควรที่จะทำให้เนื้อหาวิชามีความต่อเนื่อง กัน ถ้าเราทราบว่าเนื้อหาวิชาใดเป็นสิ่งจำเป็นที่เด็กจะต้องเรียน หรือจะต้องใช้เมื่อตอนโต  ก็ให้รีบนำเนื้อหาวิชานั้นมาสอนให้กับเด็กตั้งแต่เขายังเล็ก ๆ โดยที่ปรับเนื้อหาวิชานั้นให้เหมาะสมกับความสามารถในการคิด หรือการรับรู้ของเด็ก หรือใช้ภาษาที่เด็กจะเข้าใจได้ ดังนั้นเราก็สามารถนำเนื้อหาวิชาใด ๆ มาสอนกับเด็กในระดับอายุเท่าไรก็ได้ ถ้ารู้จักใช้วิธีการที่เหมาะสม ซึ่งจากความคิดนี้เขาได้เสนอว่าในการจัดการเรียนการสอนควรมีลักษณะเป็น “Spiral curriculum” คือการจัดเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ และมีความลึกซึ้งซับซ้อนและกว้างขวางออกไปตามประสบการณ์ของผู้เรียน เรื่องเดียวกันอาจเรียนตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์หรือฟิสิกส์ก็เรียนได้ทั้งสิ้น เช่นเกี่ยวกับเรื่อง “เซท” เด็กประถมก็เรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้  แต่ในลักษณะที่เป็นรูปธรรม นิสิตในมหาวิทยาลับก็เรียนเรื่องนี้ แต่ในลักษณะที่เป็นนามธรรมที่ลึกซึ้งเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน  สำหรับวิชาฟิสิกส์  บรูเนอร์  ได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับ  “Snell’s Law”ซึ่งเป็นกฎที่ว่าด้วยเรื่อง  “แรงกดของแสง”  ซึ่งเขาได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับการถ่ายรูปว่า การที่ถ่ายรูปติดนั้นเป็นเพราะแรงกดจากแสง  หรือว่าไม่เกี่ยวข้องกับแรงกดจากแสงเลย ซึ่งบรูเนอร์กล่าวว่าเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนอย่างนี้ก็สามารถอธิบายให้เด็กอายุ  7 ขวบ เข้าใจได้ และเขาได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยใช้ลูกบอลล์สองลูกเพื่อที่จะอธิบายว่า ถ้าวัตถุที่เคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุที่นิ่ง มันจะผ่านไปด้วยแรงซึ่งเนื่องมาจากอัตราเร็วที่จะไปกระทบวัตถุนั้น ๆ นอกจากนั้นบรูเนอร์กล่าวว่า การที่เขากล้ายืนยันว่าเด็กเล็ก ๆ ก็สามารถเรียนเกี่ยว กับกฎของ Snell’s law ได้นั้น เพราะเขาเคยพบเด็กในวัย preoperation ซึ่งมีคำถามเกี่ยวกับ การสร้าง “กังหันลมแสง” เพื่อวัดแรงกดจากแสงว่า กังหันนั้นควรจะเป็น “กังหันร้อน” หรือ “กังหันเย็น” ในเมื่อแสงจากดาวนั้นเย็น ( Hall, 1970)

ความคิดของบรูเนอร์เกี่ยวกับทฤษฎีพัฒนาการ
          ทฤษฎีพัฒนาการของบรูเนอร์ เป็นทฤษฎีที่คู่ขนานกับทฤษฎีพัฒนาการของเปียเจท์ โดยที่บรูเนอร์ศึกษาค้นคว้าโดยยึดขั้นต่าง ๆ ของพัฒนาการของเปียเจท์เป็นหลัก
          บรูเนอร์ได้เสนอว่า พัฒนาการทางสติปัญญา ของคนประกอบด้วย 3 ลักษณะคือ
1.    Enactive representation ซึ่งเปรียบได้กับ sensori motor ของเปียเจท์
2.    Iconic representation ซึ่งเปรียบได้กับ concrete operations ของเปียเจท์
3.    Symbolic representation ซึ่งเปรียบได้กับ formal operations ของเปียเจท์

ข้อแตกต่างระหว่างทฤษฎีของเปียเจท์และบรูเนอร์
1.    เปียเจท์มองเห็นว่าพัฒนาการทางสมองของเด็กมีขั้นตอนซึ่งขึ้นอยู่กับอายุ กำหนดลงไปเลยว่าเด็กในวัยใดจะมีพัฒนาการทางสมองในเรื่องใด บรูเนอร์มิได้คำนึงถึงอายุ เห็นว่ากิจกรรมต่าง ๆ ที่เด็กทำอันสืบเนื่องมาจากพัฒนาการทางสมองที่เกิดในช่วงแรกของชีวิต คนก็ยังนำไปใช้ในการแก้ปัญหาในช่วงหลัง ๆ ของชีวิตอีกเช่นกัน มิได้แบ่งเป็นช่วง ๆ ดังเช่นของเปียเจท์
          2. เปียเจท์คำนึงถึงพัฒนาการทางสมองในแง่ของความสามารถในการกระทำสิ่งต่าง ๆ ในแต่ละวัย แต่บรูเนอร์คำนึงในแง่ของกระบวนการ (process) ที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต
          3. บรูเนอร์เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ว่าสิ่งแวดล้อมบางอย่างจะทำให้พัฒนา การทางสมองช้าลงหรือหยุดชงักลง และสิ่งแวดล้อมบางอย่างจะช่วยให้พัฒนาการทางสมองเป็นไปอย่างรวดเร็ว

พัฒนาการทางสมองของบรูเนอร์
          เน้นที่การถ่ายทอดประสบการณ์ด้วยลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
          1. Enactive representation
             ตั้งแต่แรกเกิดจนอายุประมาณ 2 ขวบเป็นช่วงที่เด็กแสดงให้เห็นถึงความมีสติ ปัญญาด้วยการกระทำ และการกระทำด้วยวิธีนี้ยังดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ เป็นลักษณะของการถ่ายทอดประสบการณ์ด้วยการกระทำซึ่งดำเนินต่อไปตลอดชีวิต มิได้หยุดอยู่เพียงในช่วงอายุใดอายุหนึ่ง
          บรูเนอร์อธิบายในแง่ที่ว่า เด็กใช้การกระทำแทนสิ่งต่าง ๆ หรือประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจ เขาได้ยกตัวอย่างจากการศึกษาของเปียเจท์ ในกรณีที่เด็กเล็ก ๆ นอนอยู่ในเปลและเขย่ากระดิ่งเล่น   ขณะที่เขย่าบังเอิญทำกระดิ่งตกข้างเปลเด็กจะหยุดนิดหนึ่งแล้วยกมือขึ้นดู เด็กทำท่าประหลาดใจและเขย่ามือเล่นต่อไป
          จากการศึกษานี้บรูเนอร์ให้ข้อแนะว่า การที่เด็กเขย่ามือต่อไปโดยที่ไม่มีกระดิ่งนั้น เพราะเด็กคิดว่ามือนั้นคือกระดิ่ง และเมื่อเขย่ามือก็จะได้ยินเสียงเหมือนเขย่ากระดิ่งนั่นคือ เด็กถ่ายทอดสิ่งของ (กระดิ่ง) หรือประสบการณ์ ด้วยการกระทำ ตามความหมายของ บรูเนอร์
          เกี่ยวกับเรื่องนี้บรูเนอร์ให้ความเห็นว่า ในชีวิตประจำวันของเรานั้น บางครั้งจะพบว่าคนโต ๆ จะยังใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยการกระทำ   ซึ่งให้ผลดีกว่าการอธิบายด้วยคำพูด  เช่น การสอนคนให้ขี่จักรยาน หรือเล่นเทนนิส หรือการกระทำอื่น ๆ อีกหลายอย่างเราจะพบว่าวิธีที่ดีที่สุด คือ แสดงให้ดูเป็นตัวอย่างซึ่งจะได้ผลดีกว่าการอธิบาย เพราะเราจะพบว่าเป็นการยากเหลือเกินที่จะอธิบายให้ฟังเป็นขั้นตอน และบางครั้งก็มิสามารถหาคำพูดมาอธิบายได้ เพื่อให้คนมองเห็นภาพ แต่ถ้าเรากระทำให้ดู (acting) โดยมิต้องใช้คำพูดอธิบายผู้เรียนจะเข้าใจทันที ดังนั้นบรูเนอร์จึงมิได้แบ่งพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจให้หยุดอยู่เพียงในระยะแรกของชีวิตเท่านั้น เพราะถือว่าเป็นกระบวนการต่อเนื่องคนจะนำมาใช้ในช่วงใดของชีวิตอีกก็ได้
          2. Iconic representation
             พัฒนาการทางความคิดในขั้นนี้อยู่ที่การมองเห็นและการใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ จากตัวอย่างของเปียเจท์ดังกล่าวแล้ว เมื่อเด็กอายุมากขึ้นประมาณ 2-3 เดือน ทำของเล่นตกข้างเปล เด็กจะมองหาของเล่นนั้น ถ้าผู้ใหญ่แกล้งหยิบเอาไป เด็กจะหงุดหงิดหรือร้องไห้เมื่อมองไม่เห็นของ บรูเนอร์ตีความว่า การที่เด็กมองหาของเล่นและร้องไห้ หรือแสดงอาการหงุดหงิดเมื่อไม่พบของ แสดงให้เห็นว่าในวัยนี้เด็กมีภาพแทนในใจ (iconic representation) ซึ่งต่างจากวัย enactive เด็กคิดว่าการสั่นมือกับการสั่นกระดิ่งเป็นของสิ่งเดียวกัน เมื่อกระดิ่งตกหายไป ก็ไม่สนใจ แต่ยังคงสั่นมือต่อไป
          การที่เด็กสามารถถ่ายทอดประสบการณ์หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยการมีภาพแทนในใจ แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจซึ่งจะเพิ่มขึ้นตามอายุ เด็กโตจะยิ่งสามารถสร้างภาพในใจได้มากขึ้น เช่น การทดลองของบรูเนอร์ (1964) กับเด็ฏวัย 5-7 ขวบ โดยให้จัดเรียงลำดับแก้วซึ่งมีขนาดต่าง ๆ กัน 9 ใบ ดังแสดงในรูป

การทดลอง
          ครั้งแรกบรูเนอร์ให้เด็กดูภาพจากการจัดแก้ว 9 ใบ ดังแสดงในรูป ต่อจากนั้นหยิบแก้ว ออกทีละแถว และให้เด็กจัดเองให้เหมือนเดิม จากนั้นหยิบแก้วทั้ง 9 ใบ ออกจากตะแกรงและให้เด็กจัดให้เหมือนเดิม ปรากฏว่าเด็กวัย  5  ขวบ และ  7  ขวบ สามารถทำได้ ความแตกต่างระหว่างเด็ก 2 วัยนี้คือ เมื่อบรูเนอร์ให้ เรียงสลับ โดยให้เริ่มจากใบใหญ่ให้อยู่ทาง ซ้ายมือ ปรากฏว่าเด็กวัย 5 ขวบ เริ่มต้นอย่างถูกต้อง แต่แล้วก็งง ในที่สุดจัดออกมาเหมือนแบบที่ให้ดูตั้งแต่แรก ส่วนเด็กวัย 7 ขวบนั้น สามารถเรียงสลับได้อย่างถูกต้อง บรูเนอร์จึงสรุปว่า การเกิดภาพในใจซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจนั้นจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ทั้งนี้เพราะเด็กรู้จักที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ออกมาเป็นสัญลักษณ์ (Symbolic)
          3. Symbolic representation
             หมายถึงการถ่ายทอดประสบการณ์หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยการใช้สัญลักษณ์หรือภาษา ซึ่งภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความคิด ขั้นนี้เป็นขั้นที่บรูเนอร์ถือว่าเป็นขั้นสูงสุดของพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ เด็กสามารถคิดหาเหตุผล และในที่สุดจะเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ และสามารถแก้ปัญหาได้ บรูเนอร์มีความเห็นว่าความรู้ความเข้าใจและภาษามีพัฒนาการขึ้นมาพร้อม ๆ กัน

สรุป
          บรูเนอร์มีความเห็นว่า คนทุกคนจะมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า acting, imaging และ symbolizing เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต มิใช่ว่าเกิดขึ้นเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะแรก ๆ ของชีวิตเท่านั้น

ความคิดเห็นของบรูเนอร์ที่มีผลต่อการศึกษา
          ความคิดของบรูเนอร์มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาเช่นเดียวกับเปียเจท์
          1. ทำให้ตระหนักถึงการจัดวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการสอนให้กับเด็กเล็ก ๆ โดยเฉพาะวัสดุอุปกรณ์ประเภทที่จะกระตุ้นการกระทำ (enactive) และประเภทที่รับรู้ง่ายเพื่อช่วยสร้างภาพในใจ (image หรือ iconic)
          2. เน้นความสำคัญของผู้เรียน ว่าจะต้องเป็นผู้ที่มีบทบาท ได้คิดค้นกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง (active) ดังนั้นจึงมีการส่งเสริมให้มีการเรียนรู้แบบ discovery learning
          3. ทำให้เข้าใจความคิดของเด็ก (แม้จะไม่ละเอียดถี่ถ้วนเท่าเปียเจท์)
          4. บรูเนอร์เป็นผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน เพื่อจะพัฒนาสติปัญญาของเด็กมากกว่าเปียเจท์ เป็นผู้ที่เห็นว่า เราจะสามารถจัดการสอนเนื้อหาวิชาใด ๆ ให้กับ เด็กในช่วงใดของชีวิตได้ ถ้ารู้จักเลือกวิธีการที่เหมาะสม จากความเชื่อเช่นนี้ ทำให้เขาพยายามที่จะแสดงให้เห็นว่าเด็กเล็ก ๆ สามารถเรียนเนื้อหาวิชาต่าง ๆ โดยการมีประสบการณ์กับการสอนชนิด nonverbal โดยไม่ต้องใช้คำพูดอธิบาย ดังนั้น จึงได้สร้างชุดการเรียนชนิดที่เรียกว่า “nonverbal instructional packages” ขึ้นสอน concept ต่าง ๆ ให้กับเด็กเล็ก ๆ
          5. บรูเนอร์มีความเห็นว่าในการจัดการเรียนการสอนนั้น จะต้องคำนึงถึงทฤษฎีความรู้ความเข้าใจ และทฤษฎีการสอน เขาได้เน้น interaction ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยที่เน้นให้เห็นว่าพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจของนักเรียนจะเป็นไปด้วยดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการจัดสิ่งแวดล้อมของครู
          6. ขณะนี้ บรูเนอร์กำลังศึกษาวิจัยกับเด็กเล็กเกี่ยวกับเรื่อง  ธรรมชาติของทักษะที่ง่ายที่สุดซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้ในขั้นต่อไป

หลักการสอน
          บรูเนอร์ (1966) กล่าวว่า ทฤษฎีการสอนใด ๆ ก็ตาม ควรประกอบด้วยคุณลักษณะ 4 ประการ ซึ่งข้อเสนอแนะของเขามีคุณค่าอย่างใหญ่หลวงต่อการวางแผนการสอนในปัจจุบัน
          1. ทฤษฎีการสอนควรจะบอกให้ทราบว่าเด็กวัยก่อนเรียนควรจะมีประสบการณ์อะไรที่จะเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนในโรงเรียนต่อไป เพื่อครูจะได้นำประสบการณ์นั้นมาใช้ในการสอน
          2. ทฤษฎีการสอนควรจะบอกให้ทราบว่า จะจัดโครงสร้างของความรู้อย่างไรที่จะทำให้เด็กเข้าใจได้โดยง่าย  ซึ่งในการจัดนั้นจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั้ง 3 ของการแก้ปัญหาของเด็กด้วย คือ 1) การใช้การกระทำ  2) การสร้างภายในใจ และ  3) การใช้สัญลักษณ์
          3. ทฤษฎีการสอนควรจะบอกถึงลำดับขั้นของการเสนอเนื้อหาและใช้วัสดุอุปกรณ์ซึ่งจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั้ง 3 ของการแก้ปัญหาของเด็กดังกล่าวแล้วด้วย ซึ่งบรูเนอร์ได้เสริมว่าไม่มีลำดับขั้นใดจะมีประสิทธิภาพสำหรับเด็กทุกคน  ครูจะต้องคำนึงถึงทั้งลักษณะของวัสดุอุปกรณ์นั้น ๆ และความแตกต่างระหว่างบุคคล
          4. ทฤษฎีการสอนควรจะบอกว่าจะใช้การให้รางวัลและการลงโทษอย่างไรและ เมื่อใด ซึ่งถือว่าเป็นจุดสำคัญ
          ท้ายที่สุดบรูเนอร์ได้สรุปให้เห็นว่า พัฒนาการทางสติปัญญานั้นขึ้นอยู่กับสัมพันธภาพระหว่างเนื้อหาสาระ   ครูและผู้เรียนมิใช่เป็นเพียงการให้ผู้เรียนจำเนื้อหาสาระได้เท่านั้น  แต่ครูจะต้องช่วยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้รับเนื้อหาสาระซึ่งทำให้พัฒนาความรู้ใหม่

แนวคิดของบรูเนอร์ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา
          จากขั้นพัฒนาการต่าง ๆ ที่บรูเนอร์เสนอไว้ได้นำไปสู่แนวความคิดในการจัดการ ศึกษาในระดับต่าง ๆ ดังนี้

ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น
          บรูเนอร์เห็นว่าเด็กวัยอนุบาลอยู่ในระดับ Iconic representation ซึ่งการเรียนรู้ต่าง ๆ อยู่ในลักษณะของการกระทำ โดยผ่านประสบการณ์ที่ได้พบเห็นและการรับรู้ต่าง ๆ นอกจากนี้เขากล่าวว่า เด็กวัยนี้ไม่สามารถรออะไรได้นาน ๆ เราควรสนองความพึงพอใจให้กับเด็กอย่างทันท่วงทีที่ทำงานแต่ละครั้งเสร็จ
          บรูเนอร์ยังได้เสนออีกว่า ในการสอนเด็กระดับนี้ ควรให้มีบรรยากาศของความสนุกสนาน ผ่อนปรนไม่ตึงเครียด และควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถต่าง ๆเพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจ
          เด็กประถมต้นยังอยู่ในวัย Iconic representation เด็กวัยนี้สามารถสร้างภาพในใจได้ บรูเนอร์ได้นำการทดลองของเปียเจท์เกี่ยวกับการรินน้ำมาใช้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเด็กสามารถสร้างภาพในใจได้ และสามารถที่จะกระตุ้นให้อธิบายความคิดออกมาได้ ครั้งแรกบรูเนอร์ให้เด็กดูแก้ว 2 ใบ ที่ใส่น้ำไว้เท่ากัน พร้อมกับแก้วเปล่าอีก 2 ใบ ใบหนึ่งมีขนาดใหญ่ อีกใบหนึ่งเล็กยาว ต่อจากนั้นเขารินน้ำจากแก้วทั้งสองใบใส่แก้วเปล่าทั้งสองใบโดยไม่ให้เด็กเห็นและให้เด็กลองคิดดูว่าระดับน้ำในแก้ว 2 ใบนั้นจะเท่ากันหรือต่างกัน ผลปรากฏว่าเด็กส่วนใหญ่ทำนายได้ถูกต้อง แต่เมื่อบรูเนอร์ให้คิดว่าถ้าจะรินน้ำจากแก้ว 2 ใบนี้กลับไปสู่แก้วเดิม 2 ใบที่เท่ากัน ระดับจะเป็นอย่างไร เด็กตอบไม่ถูก จากการทดลองของบรูเนอร์สรุปได้ว่า เราสามารถสร้างให้เด็กเกิด concept เกี่ยวกับ conservation ได้เร็วขึ้นหน่อย แต่ไม่สามารถ ที่จะนำไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ ได้
          ความคิดของบรูเนอร์เกี่ยวกับเด็กวัยนี้ คือ ยัง ต้องการการสนองความพึงพอใจอย่างทันท่วงทีภายหลังที่ทำงานเสร็จ และบรรยากาศที่ผ่อนปรนไม่ตรึงเครียดเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

ระดับประถมปลาย
          บรูเนอร์ กล่าวว่า เด็กในระดับประถมปลายมีพัฒนาจาก  Iconic representation ไป สู่ Symbolic representation ซึ่งสิ่งที่บรูเนอร์เน้นนี้คล้ายคลึงกับแนวความคิดของเปียเจท์ในหลักการทั่วไป แต่ต่างกันในเรื่องต่อไปนี้
          “พัฒนาการทางสติปัญญา จะแสดงให้เห็นจากการที่เด็กสามารถเลือกจากตัวเลือกหลาย ๆ ตัวในเวลาเดียวกันและสามารถแบ่งเวลาและความสนใจได้อย่างเหมาะสมกับตัวเลือกนั้น ๆ”

ระดับมัธยมศึกษา
          การใช้สัญลักษณ์ (Symbolic representation) ของเด็กวัยนี้เป็นไปอย่างกว้างขวางขึ้น ครูมีวิธีช่วยให้พัฒนาขึ้นไปอีกโดยกระตุ้นให้ใช้ discovery approach โดยเน้นความเข้า ใจใน concept และสิ่งที่เป็นนามธรรมต่าง ๆ

แนวคิดของเปียเจท์-บรูเนอร์ที่มีผลต่อการศึกษา
          จากแนวความคิดของเปียเจท์เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนว่าควร “รอ” ให้เด็กพร้อมเสียก่อน กับแนวความคิดของบรูเนอร์ที่ว่าควรจะ “เร่ง” เพราะความพร้อมเป็นสิ่งที่สอนกันได้ เมื่อพิจารณาแนวความคิดของทั้งสองคนไปพร้อม ๆ กัน ท่าจะได้ข้อคิดอะไรบ้างที่จะนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

ระดับอนุบาล
          Herbert Ginsburg และ Sylvia Opper ได้เสนอข้อสรุปในการที่จะนำทฤษฎีของเปียเจท์ไปใช้ในการสอนไว้ว่า สิ่งสำคัญที่สุดที่นักการศึกษาจะได้มาจากงานของเปียเจท์และนำ ไปใช้ในห้องเรียนได้ก็คือ เด็ก ๆ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กเล็ก ๆ) จะเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็น “รูปธรรม”  อย่างไรก็ดี วิธีปฏิบัติเพื่อเป็นการสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวกับสิ่งที่เป็นรูปธรรมจะขึ้นอยู่กับว่า ท่านมีความรู้สึกเกี่ยวกับ guided ex-perience ที่ตรงกันข้ามกับ natural development อย่างไร ถ้าท่านเห็นด้วยกับนักจิตวิทยาและนักการศึกษาหลายคนในอเมริกาที่จะ “เร่ง” การเรียนรู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ท่านอาจจะจัดการช่วยเหลือให้เด็กวัยนี้เข้าใจ concept ของ conservation แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าท่านเห็นพ้องด้วยกับความคิดของ Piaget ว่า วิธีการที่ดีกว่าคือ การปล่อยให้เด็กได้รับประสบการณ์ด้วยวิธีการของเขาเอง และตามความเหมาะสมกับวัยของเขาแล้วละก็ ท่านควรจะเตรียมสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับเขา เพื่อปล่อยให้เขาได้มีกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นรูปธรรมให้มากที่สุด แต่พยายามให้น้อยที่สุดที่จะชี้ให้นักเรียนเห็นถึงวิธีสร้างประสบการณ์เหล่านั้น
          ในการที่ท่านคิดเพื่อจะเลือกหาคำตอบสำหรับคำถามข้างต้นนี้ ขอให้พิจารณาผลจากการศึกษาของ J. Smedslund (1961) เขาพบว่าเป็นไปได้ที่จะเร่งพัฒนาการ concept เกี่ยวกับ conservation เขาทดลองโดยการนำดินเหนียวมา 2 ก้อน ทำก้อนหนึ่งให้แบน และแล้วเอาดินเหนียวออกจากก้อนนี้เสียบ้าง เพื่อให้เล็กกว่าอีกก้อนหนึ่ง วิธีนี้จะทำให้เด็กหยุดและคิด เด็กกลุ่มทดลองเข้าใจ concept ของขนาดได้เร็วกว่ากลุ่มควบคุม แต่เมื่อทั้งสองกลุ่มถูกตั้งคำถามเพื่อให้อธิบายปัญหาการคงตัวของน้ำหนัก นักเรียนในกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับ concept ตามวิธีธรรมชาติ สามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้มากกว่านักเรียนกลุ่มทดลอง
          ผลจากการทดลองนี้สนับสนุนความคิดของ Piaget ว่า การบังคับให้เด็กเรียนจะทำให้เด็กเข้าใจเพียงผิดเผินเท่านั้น แต่ความเข้าใจที่แท้จริงจะมีขึ้นได้ต่อเมื่อเด็กมีพัฒนาการทาง ด้านความเข้าใจด้วยตนเอง
          โรงเรียนที่ดีจะต้องสนับสนุนกิจกรรมของเด็ก รวมทั้งการสำรวจและการได้ลงมือกระทำของเขาด้วย ถ้าครูพยายามที่จะใช้วิธีลัดโดยวิธีบอก หรือป้อนความรู้ให้แก่เด็กด้วยการพูดอธิบายให้ฟัง ผลก็คือเด็กจะเรียนรู้อย่างผิวเผินเท่านั้น แต่การจัดกิจกรรมขึ้นในห้องเรียนครูจะสามารถยั่วยุให้เด็กใช้ความสามารถที่มีในตัวให้เกิดการเรียนรู้ และทำให้เด็กได้มีความเข้าใจโลกรอบ ๆ ตัวเขาอย่างค่อยเป็นค่อยไป งานที่สำคัญของครูก็คือ การเตรียมอุปกรณ์ที่น่าสนใจต่าง ๆ ที่จะยั่วยุให้เด็กได้ใช้ความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวให้เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ ครูไม่ควรมุ่งแต่จะสอน แต่ควรสนับสนุนให้เด็กเรียนโดยการได้ ลงมือกระทำด้วยตนเอง ได้หยิบโน่นจับนี่ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนด้วยตนเอง
          ทั้ง Piaget และ Bruner แนะว่า ในการสอนระดับอนุบาลนั้น ครูจะต้อง สนองความต้องการของเด็กอย่างทันท่วงทีและให้มีบรรยากาศที่ผ่อนปรนไม่ตึงเครียด เปิดโอกาสให้เด็กได้ลองทำสิ่งต่าง ๆ ถ้าเด็กได้รับการสอนอย่างเป็นพิธีรีตองเกินไป (formal instruction) จะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกกลัวการตอบผิด และจะทำให้เกิดความตึงเครียดได้ง่ายกว่าการสอนในบรรยากาศที่เป็นกันเอง

ระดับประถมต้น
          ความเข้าใจของเด็กในเรื่อง conservation ถือว่า เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเรียนรู้ทำให้ครูและนักศึกษาทั้งหลายพยายามที่จะสอนเพื่อ “เร่ง” เด็กให้ได้ concept นี้ก่อนที่จะถึงเวลา ซึ่งแท้ที่จริงแล้วจะสามารถเร่งให้เกิด concept นี้ได้เร็วขึ้นนิดหน่อยเท่านั้นเอง และเด็กไม่สามารถนำไปอธิบายในสถานะการณ์อื่น ๆ ได้ โดยแท้จริงแล้ว เปียเจท์เห็นว่าไม่ควรจะเร่งควรให้เป็นไปตามธรรมชาติ เพราะเมื่อถึงวัยเด็กจะเข้าใจเอง และเมื่อเข้าใจแล้วจะสามารถแก้ปัญหาได้ทุก ๆ สถานะการณ์
          ผู้ที่สนับสนุนความคิดของเปียเจท์อย่างมากคือ Almy ซึ่งกล่าวว่า เราควรคำนึงถึงวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพให้กับเด็กดีกว่าการที่จะทำการทดลองเพื่อให้เด็กเกิด con-servation ซึ่งได้เสนอวิธีต่าง ๆ ในการสอนเพื่อให้มีประสิทธิภาพดังนี้
          1. ครูควรพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีของเปียเจท์ ซึ่งจะทำให้ครูทราบ ได้ว่าเด็กมีความคิดอย่างไร
          2. ถ้าเป็นไปได้ให้ประเมินระดับความคิดของเด็กแต่ละคนในชั้น แล้วให้เด็กทุกคนได้ทำการทดลองของเปียเจท์ แล้วครูสังเกตการกระทำของเด็กแต่ละคน แล้วให้เด็กอธิบายถึงการกระทำของเขา
          3. การเรียนรู้โดยการมีประสบการณ์ตรงและการทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ควรจัดหาอุปกรณ์และให้โอกาสเด็กได้เรียนด้วยตัวเองให้มากที่สุด
          4. จัดสถานการณ์ให้เด็กได้มีการปะทะกับสังคม (social interaction) ซึ่งจะทำให้เด็กได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และทางที่ดีควรจะจัดให้ เด็กเก่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับเด็กอ่อน ดีกว่าที่จะแยกเด็กเก่งออกจากเด็กอ่อน
          5. จัดประสบการณ์ให้จนเด็กสามารถเกิดความคิด สามารถเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ และแก้ปัญหาได้
          6. ต้องจำไว้ว่าภาษา เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความคิด ดังนั้นในการสอนจะต้องให้เด็กเข้าใจคำต่าง ๆ เช่นมากกว่า-น้อยกว่า มากที่สุด-น้อยที่สุด
          สำหรับบรูเนอร์เห็นว่า ภาษาเป็นสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับ con-servation แต่สิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด คือความคิดเกี่ยวกับ บรรยากาศที่ผ่อนปรนมีอิสระ เด็กรู้สึกสบายใจที่จะเรียน และตอบปัญหาต่าง ๆ

ระดับประถมปลาย
          ถ้าทานได้สอนนักเรียนระดับใดระดับหนึ่งจากระดับ ป. 4-ม. 3 ท่านต้องระลึกอยู่เสมอว่า ขั้น concrete และขั้น formal operations แตกต่างกัน เพราะบางทีนักเรียนต้องการทำงานอย่างหนึ่ง บางครั้งอาจเปลี่ยนไปอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้นจะเป็นการดีถ้าผู้เป็นครูจะจัด เตรียมโอกาสต่าง ๆ เอาไว้ให้มาก ๆ สำหรับนักเรียนในการอธิบายความคิดเห็นของเขาออกมาได้โดยเสรีตามความต้องการของเขาเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นนามธรรมสิ่งที่จะต้องพิถีพิถันมากก็คือ ข้อสรุปของนักเรียก เพื่อครูจะได้ทราบถึงความคิดเห็นของนักเรียนแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป
          ถ้าจะถามว่า “การเร่ง” นักเรียนให้ข้ามขึ้นไปยังขั้น formal operations จะให้ผลดีหรือไม่ ได้มีข้อขัดแย้งซึ่งเหมือน ๆ กับที่เคยกล่าวมาแล้ว เกี่ยวกับเด็กระดับนี้นักทฤษฎีหลายท่านได้ให้ทรรศนะว่า จะเป็นการดีกว่าถ้า ปล่อยให้นักเรียนได้มีโอกาสรับรู้ประสบ-การณ์ด้วยตนเองตามอัตราความเร็ว ตามความสามารถของแต่ละคน การที่ไปเร่งเด็กใน ทางความคิดเป็นการเสียเวลา และทำให้เด็กเกิดความสับสน และมีความวิตกกังวล ด้วย Pistor (1940) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้และพบว่า การเร่งให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับเวลา ต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์เป็นความพยายามที่สูญเปล่า เพราะเด็ก ป. 7 สามารถเรียนรู้ได้ดีเท่ากับเด็ก ป. 7 ที่เรียนข้ามชั้น ป. 6 มาโดยหลักสูตรพิเศษที่ช่วยให้การเรียนรู้ง่ายและสะดวกขึ้น
          อย่างไรก็ตาม บรูเนอร์ และคนอื่น ๆ เห็นว่า เราควรช่วยเด็กประถมปลายเลื่อนไปอยู่ในขั้น Symbolic thought โดยใช้วิธี inquiry โดยใช้วิธีที่ครูช่วยจัดสภาพการที่จะกระตุ้นให้เด็กถามคำถามเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ (อาจจะใช้เกมส์ 20 คำถาม) และการตั้งสมมติฐานว่าทำไมสิ่งนั้น ๆ จึงเกิดขึ้น

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย
          เด็กวัยนี้สามารถคิดอย่างมีเหตุผล แต่อาจจะมิใช่เหตุผลดังที่ผู้ใหญ่คิด ดังนั้นครูอาจทราบเหตุผลของเด็กได้โดยการกระตุ้นให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระและการเขียนรายงานโดยไม่มีคะแนน สำหรับเด็กในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของ เจโรม บรูเนอร์สามารถนำมาใช้กับการศึกษาและการสอนดังนี้
          จัดกิจกรรรมการเรียนการสอนโดยเน้นที่ผู้เรียนได้ลงมือปฎิบัติด้วยตนเอง การให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติเพื่อเกิดการเรียนรู้ไม่จำกัดเฉพาะในรายวิชาวิทยาศาสตร์เท่านั้นแต่ในทุกรายวิชาผู้เรียนสามารถลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความรู้ที่คงทนกับผู้เรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในชั้นและปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนเอง ให้ผู้เรียนได้แสดงออกอย่างเต็มศักยภาพ ในทุกรายวิชาทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สามารถจัดกิจกรรมโดยการให้ผู้เรียนลงมือ ทำอาทิเช่น การเรียนการสอนแบบโครงงาน
ตัวอย่างกิจกรรมและหัวข้อเรื่องอาจจะเป็นเรื่องง่ายที่สุดไล่ไปถึงยากที่สุดก็ได้และลักษณะกิจกรรมก็สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามผู้ที่วางแผนการสอนและผู้สอน เช่น สมมุติว่าเนื้อหาที่เรียนเป็นเรื่อง พืชผู้สอนอาจจะแบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนช่วยกันคิดว่าอยากรู้อะไรเกี่ยวกับพืช (ผู้สอนต้องคอยดึงประเด็นไม่ให้นอกเรื่องมากเกินไปด้วย) แล้วให้แต่ละกลุ่มก็ไปหาเมล็ดพืชที่ตัวเองสนใจมาปลูก สัปดาห์แรกอาจจะกำหนดเป็นพืชผักสวนครัว เมื่อปลูกเสร็จก็ให้ผู้เรียนวางแผนการขาย และขั้นตอนสุดท้ายคือนำเสนอผลงานหน้าห้องกิจกรรมนี้สิ่งที่ผู้เรียนรู้ก็คือพืชสวนครัวมีอะไรบ้าง แล้วขั้นกิจกรรมนี้สิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้ก็คือพืชสวนครัวมีอะไรบ้างแล้วขั้นตอนการปลูก การวางแผนการขายต้องกำหนดต้นทุน ราคา และคิดหากำไร
สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ การลงมือทำผู้เรียนจะเกิดประสบการณ์ตรง แล้วใช้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียนสำคัญในการแก้ปัญหาและปรับปรุงให้ดีขึ้นผู้เรียนมีการปฏิบัติสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ อย่างหลากหลาย ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ มากมายผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้เมื่อได้ลงมือปฏิบัติผู้เรียนจะจำความรู้ได้แม่นและนานกว่าการท่องจำเกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ จากการทำกิจกรรม