วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พาฟลอฟ (Pavlov)

ประวัติ
          พาฟลอฟมีชื่อเต็มว่า Ivan Petrovich Pavlov เป็นชาวรัสเซีย มีช่วงชีวิตอยู่ระหว่าง ปี ค.ศ. 1849 - 1936 ถึงแก่กรรมเมื่ออายุประมาณ 87 ปี
          พาฟลอฟเป็นนักวิทยาศาสตร์ ครั้งแรกเขาสนใจศึกษาระบบการหมุนเวียนโลหิตและระบบหัวใจ ต่อมาได้หันไปสนใจศึกษา เกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร จนทำให้เข้าได้รับรางวัลโนเบิลสาขาสรีรวิทยา ในปี ค.ศ. 1904
          พาฟลอฟได้สร้างผลงานไว้มากมาย โดยเขียนหนังสือต่าง ๆ ไว้ดังนี้
-          ในปี ค.ศ. 1897 เขียนหนังสือชื่อ The work of the digestive glands
-          ในปี ค.ศ. 1899 เขียนหนังสือชื่อ The work on conditioned reflexes ในหัวข้อต่าง ๆ ที่สำคัญ ๆ ดังนี้“Observations upon salivary secretion” และ “Conditioned reflexes” เป็นต้น
-          ในปี ค.ศ. 1941 หนังสือเล่มสุดท้ายของเข้าได้มีผู้รวบรวมขึ้นให้ชื่อว่า ปฏิกิริยาสะท้อนที่วางเงื่อนไขกับจิตเวช (Conditioned reflexes and Psychiatry)
          เนื่องจากพาฟลอฟเป็นชาวรัสเซีย จึงมีผู้แปลหนังสือที่พาฟลอฟเขียนขึ้นมาเป็นภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศส และอังกฤษ เป็นต้น
          ต่อมาพาฟลอฟได้หันมาสนใจเกี่ยวกับด้านจิตเวช (Psychiatry) และในบั้นปลายของชีวิต เขาได้อุทิศเวลาทั้งหมดในการสังเกตความเป็นไปในโรงพยาบาลโรคจิต และพยายามนำการสังเกตเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทดลองสุนัขในห้องปฏิบัติการจนได้รับชื่อเสียงโด่งดัง และได้ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกขึ้น

หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี
          พาฟลอฟเชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไจ (Conditioning) กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้านั้น ๆ ต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น ซึ่งในธรรมชาติหรือในชีวิตประจำวันจะไม่ตอบสนองเช่นนั้นเลย เช่น สุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งน้ำลายจะไหล หรือคนได้ยินเสียงไซเรนจะคิดถึงไฟไหม้เป็นต้น เสียงกระดิ่งหรือเสียงไซเรนเป็นสิ่งเร้า ที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข พาฟลอฟเรียกว่าสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus) และปฏิกิริยาน้ำลายไหลหรือการคิดถึงการเกิดไฟไหม้เป็นการตอบสนองที่เรียกว่าการตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned Response) ซึ่งเป็นพฤติกรรมแสดงถึงการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข
          จากคำกล่าวข้างต้นที่ว่า การตอบสนองดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ดังนั้นถ้าจะทำให้สิ่งมีชีวิตตอบสนองตามเงื่อนไขที่ต้องการได้ ต้องใช้สิ่งเร้าอีกชนิดหนึ่งมาคู่กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข โดยสิ่งเร้าชนิดนี้จะต้องเป็นสิ่งเร้าที่สิ่งมีชีวิตมีการตอบสนองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องมีการเรียนรู้ หรือมีเงื่อนไข เช่น การศึกษาพบว่าผงเนื้อบดทำให้สุนัขน้ำลายไหลจากความหิว ดังนั้น เรียกว่าสิ่งเร้าไม่ต้องวางเงื่อนไจ หรือสิ่งเร้าธรรมชาติ (UnconditionedStimulus) เพราะไม่ต้องสร้างสถานการณ์ สุนัขก็น้ำลายไหลทันที
          ดังนั้นอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตในแง่ของพาฟลอฟ คือการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ซึ่งหมายถึงการใช้สิ่งเร้า 2 สิ่งคู่กัน คือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข และสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ คือการตอนสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข ซึ่งถ้าสิ่งมีชีวิตเรียนรู้จริงแล้วจะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า 2สิ่ง ในลักษณะเดียวกัน และไม่ว่าจะตัดสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่งออก การตอบสนองก็ยังคงเป็นเช่นเดิม เพราะว่าผู้เรียนรู้สามารถเชื่อมยางระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขกับการตอบสนองได้นั่นเอง
          เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น ผู้เขียนขออธิบายความหมายจองคำที่เกี่ยวข้องกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ดังนี้
          สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus เขียนย่อว่า C.S.) หมายถึงสิ่งเร้าที่ใช้วางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ โดยปกติสิ่งเร้านี้ตามธรรมชาติจะไม่มีการตอบสนอง หรือการเรียนรู้เช่นที่ผู้วางเงื่อนไขต้องการ เช่น สุนัขโดยทั่วไปได้ยินเสียงกระดิ่ง มิได้เกิดปฏิกิริยาน้ำลายไหลเลย
          การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioned Response เขียนย่อว่า C.R.) หมายถึงการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหลังจากถูกวางเงื่อนไขแล้ว เช่น การแสดงอาการน้ำลายไหลของสุนัข เมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง
          สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (UnconditionedStimulus เขียนย่อว่า UC.S.) หมายถึงสิ่งเร้าที่มีอยู่ในธรรมชาติ และเมื่อนำมาใช้คู่กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขแล้วทำให้เกิดการเรียนรู้ หรือการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขได้ เช่น ผงเนื้อบดเมื่อนำมาคู่กับเสียงกระดิ่งแล้วทำให้น้ำลายไหลนั่นเอง หรือกล่าวง่าย ๆ ว่าเป็นสิ่งเร้าที่มีอยู่ในธรรมชาติซึ่งนำมาคู่กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข เพื่อช่วยให้เกิดการตอบสนองตามที่ต้องการในการวางเงื่อนไขนั้น ๆ
          การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Response เขียนย่อว่า UC.R.) หมายถึงการตอบสนองตามธรรมชาติที่ไม่ต้องมีการบังคับ ส่วนใหญ่เป็นการำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System หรือ ANS) ซึ่งเป็นการทำงานโดยสมองไม่ต้องสั่งงานที่เรียกว่าปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) เช่น น้ำตาไหล น้ำลายไหล ฯลฯ
          หลักการเรียนรู้ของพาฟลอฟเขียนเป็นแผนผังง่าย ๆ ดังนี้
          การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข = การเรียนรู้



การทดลอง
          จุดเริ่มต้นของการทดลอง เกิดจากการที่พาลอฟได้สังเกตเห็นว่า สุนัขที่เขาเลี้ยงมักมีอาการน้ำลายไหลเกิดขึ้นทุกครั้งที่เขาได้นำเอาผงเนื้อไปให้กินและบางครั้งที่เขาเดินมา สุนัขได้ยินก็มีอาการน้ำลายไหล ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้อาหาร ทำให้เขาคิดว่าอาการน้ำลายไหลของสุนัขนั้นน่าจะเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่ต่อเนื่องกันระหว่างผงเนื้อบด กับเสียงคนเดิน และเนื่องจากพาลอฟเป็นนักสรีรวิทยา เขาจึงเห็นว่าอาการน้ำลายไหลซึ่งเป็นปฏิกิริยาสะท้อน ที่เกิดจากการทำงานของระบบประสารทอัตโนมัติ นั้นก็เกิดเป็นปฏิกิริยาการเรียนรู้อย่างหนึ่งได้
          เขาจึงเริ่มทดลองโดย ก่อนทดลองเขาได้ทำการผ่าตัดง่าย ๆ ข้างกระพุ้งแก้มของสุนัขเพื่อเปิดท่อของต่อมน้ำลายให้กว้างออก และเจาะเป็นท่อไหลลงในภาชนะที่มีเครื่องหมายสำหรับตวงปริมาณของน้ำลายได้
          เริ่มการทดลอง เข้าตั้งจุดประสงค์ไว้ว่า สุนัขจะต้องมีอาการน้ำลายไหลจากการได้ยินเสียงกระดิ่ง การทดลองมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นก่อนวางเงื่อนไข ขั้นวางเงื่อนไข และขั้นการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข ดังนี้
          ขั้นที่ 1 ขั้นก่อนวางเงื่อนไข เป็นขั้นที่ศึกษาภูมิหลังของสุนัขก่อนการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไขว่าภูมิหลัง หรือพฤติกรรมก่อนการเรียนรู้เป็นอย่างไร
          เขาศึกษาพบว่า สุนัขจะแสดงอาการส่ายหัว และกระดิกหาง เมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง แต่จะแสดงอาการน้ำลายไหลเมื่อได้เห็นเนื้อบด ซึ่งแสดงได้ดังสมการ
          เสียงกระดิ่ง (UCS)         à     ส่ายหัวและกระดิกหาง (UCR)
          ผงเนื้อบด (UCS)           à     น้ำลายไหล (UCR)
          จากการศึกษาทำให้ทราบว่า พฤติกรรมก่อนการเรียนรู้ครั้งนี้สุนัขไม่ได้แสดงอาการน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง และถ้าจะให้น้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง จะต้องใช้เนื้อบดเข้าช่วย โดยการจับคู่กันจึงจะทำให้สุนัขน้ำลายไหลได้
          ขั้นที่ 2 ขั้นวางเงื่อนไข เป็นขั้นที่ใส่กระบวนการเรียนรู้โดยการวางเงื่อนไจแบบคลาสสิกเข้าไป เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
          เขาได้สั่นกระดิ่ง (หรือเป็นการเคาะส้อมเสียง) จากนั้นก็จะรีบพ่นผงเนื้อบดเข้าไปในปากสุนัขในเวลาต่อมา ทำอย่างนี้ซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้งเพื่อให้สุนัขเกิดการเรียนรู้ ซึ่งแสดงสมการได้ดังนี้
          เสียงกระดิ่ง (CS)           +        ผงเนื้อบด (UCS)           à     น้ำลายไหล (UCR)
          ในการวางเงื่อนไขนี้ ใช้เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) และใช้ผงเนื้อบดเป็นสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS) และอาการน้ำลายไหลในขณะวางเงื่อนไขนี้ ยังอาจเป็นการตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (UCR) เพราะสุนัขจะน้ำลายไหลจากผงเนื้อบดมากกว่าเสียงกระดิ่ง
          ขั้นที่ 3 ขั้นการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข เป็นขั้นที่ทกสอบว่าสุนัขเรียนรู้หรือยัง ในวิธีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกนี้ โดนการตัดสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไจ (UCS) ออกคือผงเนื้อบด ให้เหลือแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) คือเสียงกระดิ่ง ถ้าสุนัขยังน้ำลายไหลอยู่แสดงว่า สุนัขเกิดการเรียนรู้ต่อการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกแล้ว นั้นคืออาการน้ำลายไหลเป็นการตอบสนองการวางเงื่อนไข (CR) นั่นเอง ดังแสดงได้จากสมการ
          เสียงกระดิ่ง (CS)           à     น้ำลายไหล (CR)
จากการทดลองทั้ง 3 ขั้นตอนดังกล่าวบรรลุตามที่พาลอฟตั้งจุดประสงค์ไว้ คือ สามารถทำให้สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งได้ ซึ่งเป็นการแก้ข้อสงสัยว่าทำไมสุนัขจึงน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงฝีเท้าของคนให้อาหาร เพราะทั้งนี้สุนัขมีการตอบสนองเชื่อมโยง จากอาหารไปสู้ฝีเท้า โดยที่อาหารเป็นสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (UCS) และเสียงฝีเท้าเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) ซึ่งแสดงดังสมการ
          เสียงฝีเท้า (CS)             +        อาหาร (UCS)             à     น้ำลายไหล (UCR)
                                                เสียงฝีเท้า (CS)            à     น้ำลายไหน (CR)
          จากการทดลองนี้เป็นข้อยืนยันให้เห็นจริงว่า การแสดงปฏิกิริยาสะท้อนต่าง ๆ นั้น อาจใช้ในการเรียนรู้ โดยการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกได้
ข้อสังเกตจากการทดลอง
          1. การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ควรเริ่มจากการเสนอสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) ก่อนแล้วจึงเสนอสิ่งเร้าไม่วางเงื่อนไข (UCS) ตามมา
          2. ช่วงเวลาในการให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) กับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS) ที่แตกต่างกันจะทำให้การตอบสนองที่ได้แตกต่างกันไปด้วย 


กฎการเรียนรู้
          จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการทดลอง ทำให้พาลอฟสรุปออกมาเป็นกฎการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ 4 กฎด้วยกัน คือ
1.      กฎการลดภาวะ ความเข้มข้นของการตอบสนอง จะลดน้อยลงเรื่อย ๆ ถ้าให้อินทรีย์ได้รับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขไว้อย่างเดียว หรือความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข กับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขห่างกันออกไปมากขึ้น ๆ
2.      กฎการคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข ที่ลดลงเพราะได้รับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเพียงอย่างเดียว จะกลับปรากฏขึ้นอีก และเพิ่มมากขึ้น ๆ ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้อย่างแท้จริง โดยไม่ต้องมีสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขเข้ามาช่วย
3.      กฎการสรุปกฎเกณฑ์ทั่วไป ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้โดยแสดงอาการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหนึ่งแล้ว ถ้ามีสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิม อินทรีย์จะตอบสนองเหมือนกับสิ่งเร้าที่วางเงือนไขนั้น
4.      กฎการจำแนกความแตกต่าง ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้ โดยแสดงอาการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขจ่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขแล้ว ถ้าสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิม อินทรีย์จะตอบสนองแตกต่างไปจากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น
สรุปหลักการและความคิดของ Pavlov ที่เกี่ยวกับการวางเงื่อนไขได้เป็นข้อๆ ดังนี้ (จำเนียร ช่วยโชติ และคณะ
              : 42-47)
1. ถ้าให้สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไขควบคู่กับสิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข ในช่วงระยะเวลาหนึ่งสิ่งเร้าที่มีเงื่อนไขจะแสดงผลเหมือนกับสิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข
2. การวางเงื่อนไขจะเกิดผลดี ก็ต่อเมื่อผู้ทดลองเร้าผู้ถูกทดลองด้วยสิ่งเร้าไม่มีเงื่อนไขเสียก่อน แล้วจึงตามด้วยสิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข ระยะเวลาที่จะเร้าสิ่งเร้าไม่มีเงื่อนไขและสิ่งเร้าที่มีเงื่อนไขนั้น จะต้องไม่มากเกินไป และไม่เร็วเกินไป แต่ต้องอยู่ในจังหวะเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ถูกทดลองมีโอกาสได้สัมพันธ์เหตุการณ์ทั้งสองอย่างเข้าด้วยกันได้เป็นอย่างดี (ไม่ใช่เคาะส้อมก่อนแล้วทิ้งระยะไว้ 1 ชั่วโมง จึงจะให้อาหาร การกระทำห่างเกินไปจะไม่ได้ผลตามที่ต้องการ  ทั้งนี้เพราะสุนัขหรือผู้ถูกทดลองไม่มีโอกาสได้สัมพันธ์เหตุการณ์ทั้งสองนั้นเข้าด้วยกัน)
3. คนและสัตว์ไม่จำเป็นต้องทำปฏิกิริยาการตอบสนองต่อสิ่งเร้าแท้ (สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข) อย่างเดียวกันตลอดไปเหมือนกันหมด แต่ถ้าได้มีการวางเงื่อนไขติดต่อกันไปเป็นเวลานานพอสมควรคนและสัตว์ย่อมทำปฏิกิริยาการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเทียม (สิ่งเร้าที่ได้วางเงื่อนไข) เช่นเดียวกันกับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าแท้
ถ้าเราพิจารณาถึงพฤติกรรมต่างๆ ของคนเราที่แสดงออกมาแล้วจะพบว่า มีอยู่เป็นอันมากที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของการวางเงื่อนไข ตัวอย่างเช่น ความกลัว ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด การที่คนเรากลัวอะไรๆ นั้นเป็นเพราะคนเราสร้างความกลัวขึ้นมาจากการที่ได้ไปวางเงื่อนไขกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดเข้า
4. ในการวางเงื่อนไขกับอะไรนั้น คนเราต้องพยายามจับหลักให้ได้ว่า อะไรเป็นเงื่อนไขกับอะไร พฤติกรรมของอินทรีย์ที่เกิดจากการวางเงื่อนไขแบบนี้นั้น เป็นพฤติกรรมที่เรามองเห็นสาเหตุได้ว่าอะไรเป็นตัวการหรือตัวเร้าให้พฤติกรรมแสดงออกมาในรูปนั้นๆ
อย่างไรก็ตามพฤติกรรมของคนเรานั้นซับซ้อนมาก จึงไม่เป็นที่มองเห็น หรือแยกแยะออกให้เห็นชัดแจ้งได้โดยง่าย ในการแสดงพฤติกรรมแต่ละอย่างของคนเราส่วนมากนั้น มักจะเกิดจากสิ่งเร้าประกอบ (หมายถึงสิ่งเร้าหลายๆอย่างๆ) แทนที่จะเป็นสิ่งเร้าเดี่ยว (หมายถึงสิ่งเร้าอันเดียว) ในกรณีเช่นนี้ จึงเป็นการยากจะบอกว่า สิ่งเร้าอันไหนที่เป็นตัวเร้าที่แท้ อันไหนที่เป็นตัวเร้าประกอบ
5. การวางเงื่อนไข หมายถึงการวางเงื่อนไขที่มีระดับสูงขึ้น หรือการวางเงื่อนไขซ้อนจากการวางเงื่อนไขต่อเป็นขั้นที่สอง ที่สาม  และที่สี่เรื่อยๆไป ผลก็คือ “ยิ่งมีการวางเงื่อนไขซ้อนการวางเงื่อนไขมากครั้งขึ้นเป็นลำดับ การตอนสนองก็จะมีกำลังอ่อนลงด้วยตามลำดับ”
พฤติกรรมของคนเรานั้นซับซ้อน ถ้ามีการวางเงื่อนไขซ้อนการวางเงื่อนไขกันเป็นลำดับ การเรียนรู้ของคนเราที่เกิดจากการวางเงื่อนไขซ้อนการวางเงื่อนไข การตอนสนองของร่างกายจะหย่อนความเข้มข้นลงไป นั้นหมายความว่า การเรียนรู้จะหย่อนสมรรถภาพตามลงไปด้วย


ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขของ Pavlov สามารถนำไปใช้ในการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน
     ได้ดังนี้

1.   การจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบการใช้บทเรียนโปรแกรม หรือบทเรียนสำเร็จรูป เป็นการทำให้
     ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีคำตอบที่ถูกต้องไว้เป็นการเสริมแรง สามารถเสริมแรงได้ทันทีเมื่อผู้เรียน
     ตอบคำถามได้ถูกต้อง ทำให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจและอยากเรียนรู้มากขึ้น
2. การใช้พฤติกรรมบำบัด เช่น การสอนให้เด็กขยันทำการบ้าน โดยเขียนรายชื่อผู้ส่งการบ้านไว้บนบอร์ดให้  
   บุคคลอื่นมองเห็นเพื่อเป็นการยกย่องชมเชย การให้ดาวเมื่อผู้เรียนทำงานเสร็จทันเวลา หรือส่งการบ้านตาม 
   เวลา เมื่อได้ดาวครบตามจำนวน มีการมอบรางวัล กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้น  เป็นต้น
3. การใช้กฎการเรียนรู้ทั้ง 2 กฎ คือ การเสริมแรงทันทีทันใด เช่น เมื่อผู้เรียนตอบคำถามถูกให้กล่าวชมยกย่อง  
   ชมเชย ให้รางวัล ในทันที  และการเสริมแรงเป็นครั้งคราว เช่นการสะสมแต้ม  เพื่อแลกของรางวัล หรือ ให้ 
   รางวัลสำหรับผู้ที่ตั้งใจเรียน ส่งงานสม่ำเสมอตลอดระยะเวลา 1 เดือน เป็นต้น










Tagged: , , ,

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น