วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

         ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอาการกระทำของสกินเนอร์
         (Operant conditioning theory)
Burrhus  Frederic  Skinner
ประวัติ
         เบอร์รัชเอฟ. สกินเนอร์(BurrhusF.Skinner) เป็นศาสตราจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ดสหรัฐอเมริกา เกิดเมื่อปี ค.. 1904 เขาเป็นนักการศึกษาและนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงมากท่านหนึ่ง เขาได้ทดลองเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบอาการกระทำ (Operant conditioning) จนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางตั้งแต่ปี ค.. 1935เป็นต้นมา
         ต่อมาปี ค.. 1950ในวงการศึกษาสหรัฐอเมริกาเกิดวิกฤติการณ์ขึ้นประการหนึ่งคือการขาดแคลนครูที่มีประสิทธิภาพเนื่องจากการฝึกหัดครูมีการจัดระบบการศึกษาไม่ดีเท่าที่ควรทำให้ระบบการเรียนการสอนด้อยประสิทธิภาพสกินเนอร์จึงได้พยายามคิดเครื่องมือช่วยสอนขึ้นมาเพื่อปรับปรุงระบบการศึกษามีประสิทธิภาพเครื่องมือที่เขาคิดขึ้นมาสำเร็จเรียกว่าบทเรียนสำเร็จรูปหรือการสอนแบบโปรแกรม (Program instruction or Program Learning) และเครื่องมือช่วยในการสอน (Teaching machine)ซึ่งได้รับความสำเร็จอย่างดียิ่งเพราะเป็นที่นิยมใช้แพร่หลายอย่างกว้างขวางในวงการศึกษาต่าง ๆ ทั่วไปตั้งแต่ปีค.. 1950เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี
         ทฤษฎีนี้ชื่อว่าการวางเงื่อนไขแบบอาการกระทำดังนั้นจึงเน้นการกระทำของผู้รับการทดลอง หรือผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งเร้าที่ผู้ทดลองหรือผู้สอนกำหนดกล่าวคือเมื่อต้องการให้อินทรีย์เกิดการเรียนรู้จากสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่งเราจะปล่อยให้ผู้เรียนรู้เลือกแสดงพฤติกรรมเองโดยเราไม่บังคับหรือไม่บอกแนวทางการเรียนรู้แต่ครั้นเมื่อผู้เรียนรู้แสดงพฤติกรรมการเรียนรู้เองแล้ว เราจึง “เสริมแรง”พฤติกรรมนั้น ๆ ทันทีเพื่อให้เรียนรู้ว่าพฤติกรรมที่เขาแสดงนั้นเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ถูกต้องหรือเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องนั่นเอง
         ถ้ากำหนดให้     S1            เป็นสิ่งเร้าที่ต้องการให้ผู้เรียนรู้เกิดการเรียนรู้
                             S2            เป็นตัวเสริมแรงหลังจากผู้เรียนแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ถูกต้อง
                             R1            เป็นพฤติกรรมการเรียนรู้
         เราสามารถเขียนเป็นไดอะแกรมการเรียนรู้ได้ดังนี้


S2

S1

R1
 





                                                                                                     
        จากไดอะแกรมอธิบายได้ว่าเมื่อต้องการให้เรียนรู้แบบS1จะมีการตอบสนองออกมาหลายรูปแบบแต่มีแบบเดียวที่ต้องการในการเรียนรู้คือR1เมื่อผู้เรียนรู้แสดงR1จะได้รับแรงเสริม คือS2ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เรียนรู้พอใจถ้ามีS1อีกเมื่อใดผู้เรียนจะแสดงR1ทันทีโดยคาดหวังว่าจะได้S2ต่อไป
        ถ้าจะเปรียบเทียบกับทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
                   S1                            คือ                CS
                   S2                 คือ                UCS
          และ     R1                 คือ                CR      นั่นเอง

การทดลอง
        ในการทดลองของสกินเนอร์มีกลายการทดลองผู้เขียนใคร่นำมาอธิบายไว้2การทดลองคือ
        การทดลองที่1:-การฝึกหนูกดคาน
Skinner’s box (Tntrodution to psychology-Hilgard, 1971)
แสดงการทดลองการวางเงื่อนไขของ Skinnerโดยใช้หนูขาวทดลอง
Apparatus for Operant conditioning (Introduction to Psychology – Hilgrad, 1971)
        การทดลองนี้สิ่งที่ใช้ทดลองคือกล่องสกินเนอร์(Skinner’s box)กับหนูลักษณะสำคัญของกล่องสกินเนอร์ คือ
        ก)มีที่ซ่อนอาหารไม่ให้หนูเห็นอาหารในที่นี้คือS2หรือUCS
        ข)มีกลไกสำหรับคอยควบคุมหรือปล่อยสิ่งเร้าให้ออกมาตามปริมาณที่ต้องการ

        ลำดับขั้นในการทดลอง
        ขั้นที่ 1    ขั้นเตรียมการทดลอง
                   ทำให้หนูหิวมากๆเพื่อสร้างแรงขับ(Drive)ให้เกิดขึ้นตามหลักของดอลลาร์ดและมิลเลอร์อันเป็นแนวทางที่จะผลักดันให้แสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ได้เร็วยิ่งขึ้นและต้องทำให้หนูคุ้นเคยกับกล่องสกินเนอร์
        ขั้นที่2     ขั้นทดลอง
                   เมื่อหนูหิวมาก ๆ สกินเนอร์ปล่อยหนูเข้าไปในกล่องสกินเนอร์หนูจะวิ่งเปะปะและแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น การวิ่งไปรอบ ๆ กล่องการกัดแทะสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในกล่องในที่สุดบังเอิญเท้าหนูแตะลงที่บนคาน (ซึ่งเป็น S1หรือ CS)สกินเนอร์จะปล่อยอาหารจากที่ซ่อน (ซึ่งหมายถึงS2หรือ UCS)ลงไปในถาดอาหารซึ่งอยู่ในสกินเนอร์ทันทีหนูก็จะกินอาหารจนอิ่มและสกินเนอร์สังเกตว่าทุกครั้งที่หนูหิวจะใช้เท่าหน้ากดลงไปบนคาน(ซึ่งเป็นR1หรือCR)เสมอ
        ขั้นที่3     ขั้นทดวอลการเรียนรู้
                   จับหนูเข้าไปในกล่องสกินเนอร์อีกหนูจะแสดงอาการกดคานทันทีแสดงว่าหนูเรียนรู้แล้วว่าการกดคานจะทำให้ได้กินอาหาร
        สรุปผลการทดลองนี้แสดงว่าการเรียนรู้ที่ดีจะต้องมีการเสริมแรงนั่นเอง




        การทดลองที่ 2:-การฝึกนกพิราบให้จิกแป้นสีต่าง ๆ

แสดงการทดลองการวางเงื่อนไขของSkinnerโดยให้รางวัลเมื่อนกพิราบสามารถจิกแป้นสี
ได้ถูกต้อง(Introduction to psychology – Hilgard, 1971)

        การทดลองนี้ประกอบด้วยกล่องสกินเนอร์กับนกพิราบลักษณะพิเศษของกล่องสกินเนอร์ คือ แป้นสีต่าง ๆ และที่ซ่อนอาหาร

        ลำดับขั้นในการทดลอง
        ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการทดลอง
        ทำให้นกพิราบหิวมาก ๆ โดยมีจุดประสงค์เช่นเดียวกันกับการทำให้หนูหิวมาก ๆในการทดลองนี้ คือเพื่อสร้างให้เกิดแรงขับมาก ๆ และทำให้นกพิราบคุ้นกับกล่องสกินเนอร์
        ขั้นที่ 2    ขั้นทดลอง
        เมื่อนกพิราบหิวมาก ๆ สกินเนอร์ปล่อยนกพิราบเข้าไปในกล่องสกินเนอร์นกจะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เช่นจิกกล่อง และของที่อยู่ในกล่องจนกระทั่งจิกแป้นสีที่กำหนดให้เรียนรู้เช่น สีแดงสกินเนอร์จะกดให้อาหารคือข้างเปลือกลงมาที่ถาดอาหารหน้านกพิราบทันทีทุกครั้งที่นกพิราบจิกแป้นสีแดง ก็จะได้กินอาหารในที่นี้S1 (หรือ CS) คือแป้นสีแดง,S2 (หรือ USC)คือข้าวเปลือกและ R1(หรือ CR)  คือการจิกแป้นวงกลมสีแดง
        ขั้นที่3     ขั้นทดสอบการเรียนรู้
        ทุกครั้งที่นกพิราบหิวเมื่อสกินเนอร์นำเข้าไปในกล่องสกินเนอร์นกพิราบจะจิกแป้นสีแดงทันทีแสดงว่านกพิราบเรียนรู้การจิกแป้นสีแดงนั่นเอง
        สรุปผลที่ได้จากการทดลองนี้จะเหมือนกับผลการทดลองที่ 1 คือการเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการเสริมแรง
        อนึ่งก่อนที่จะกล่าวถึงกฎการเรียนรู้ในทฤษฎีนี้ผู้เขียนจะอธิบายคำต่าง ๆ ในเชิงเปรียบเทียบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันเสียก่อนและเพื่อความเข้าใจเมื่อเอ่ยถึงคำเหล่านี้ในเรื่องต่อ ๆ ไป

ก)การจูงใจกับการเสริมแรง
        การจูงใจ(Motivation)คือการช่วยทำให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ขึ้นหรือพูดง่าย ๆ คือสิ่งล่อให้เกิดพฤติกรรมจึงต้องใช้ก่อนที่จะเกิดพฤติกรรมเช่นผงเนื้อบดในการทดลองของพาฟลอฟ  เป็นต้น
        การเสริมแรง  (Reinforcement)  คือ  การทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นแล้วมีคงทนถาวรต่อไปเรื่อย ๆ เช่น  ข้าวเปลือกในการทดลองของสกินเนอร์  เป็นต้น  จึงต้องใช้หลังจากเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้นั้นแล้ว

ข)กี่เสริมแรงกับการลงโทษ


พอใจ
ไม่พอใจ
ได้รับ
การเสริมแรงทางบวก
การลงโทษ
เอาออกไป
การลงโทษ
การเสริมแรง
ทางลบ

จากไดอะแกรมข้างบน  อธิบายได้ดังนี้
        การเสริมแรง  (Reinforcement)แบ่งเป็น  ประเภท คือ
        1)การเสริมแรงทางบวก (Positive reinforcement) คือการที่อินทรีย์ได้รับสิ่งเร้าแล้วเกิดความพอใจ เช่นรางวัล คำชมเชย ฯลฯ
        2) การเกิดแรงทางลบ (Negative reinforcement) คือการที่อินทรีย์ถูกนำสิ่งที่ไม่พอใจออกไป เช่นการนำเสียงดังหนวกหู เครื่องพันธนาการต่าง ๆ ฯลฯ ออกไปจากอินทรีย์แล้วเกิดความพอใจ
        การลงโทษ (Punishment)
        สกินเนอร์กล่าวว่า  การลงโทษเป็นการหยุดยั้งพฤติกรรมเพียงชั่วคราว  แต่ไม่ทำให้เกิดการเรียนรู้  ในทฤษฎีของสกินเนอร์จึงไม่นิยมใช้การลงโทษใช้เพียงแต่การเพิกเฉย  (Ignor-ance) เมื่อเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา
        จากไดอะแกรม  การลงโทษแบ่งออกเป็น 2 ประการคือ
        1)การลงโทษที่เกิดจากการได้รับสิ่งที่ไม่พอใจ เช่น คำตำหนิ ฯลฯ
        2)การลงโทษที่เกิดจากการนำสิ่งที่พอใจออกไปจากอินทรีย์ เช่น การนำเกรด เอ.ออกไป การเอาขนมออกไปจากปากเด็ก ฯลฯ
กฎการเรียนรู้
        กฎการเรียนรู้ของสกินเนอร์คือกฎการเสริมแรงนั่นเองสิ่งที่กล่าวถึงในกฎการเสริมแรง  คือ
        1 ตารางกำหนดการเสริมแรง (Schedules of reinforcement) เป็นการใช้กฎเกณฑ์บางอย่าง เช่น เวลาหรือพฤติกรรม เป็นตัวกำหนดในการเสริมแรง
        2 อัตราการตอบสนอง (Response rate)เป็นการตอบสนองที่เกิดจากการเสริมแรงต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นมากน้อย นานคงทนถาวรเท่าใด ย่อมแล้วแต่ตารางการเสริมแรงนั้น ๆ เช่น ตารางกำหนดการเสริมแรงบางอย่างทำให้มีอัตราการตอบสนองมาก, บางอย่างมีอัตราการตอบสนองน้อย เป็นต้น
          ตารางกำหนดการเสริมแรงแบ่งออกเป็น  วิธีการใหญ่ ๆ คือ
        1. การเสริมแรงทันทีทันใดหรือการเสริมแรงแบบต่อเนื่อง  (Immediately or Continuous  reinforcement) หมายถึงการเสริมแรงทุกครั้งเมื่ออินทรีย์แสดงพฤติกรรมการเรียนรู้  นั่นคือเป็นอัตราส่วน 1:1  เสมอหมายความว่า  ถ้าแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ 1 ครั้ง  ก็จะเสริมแรง 1 ครั้ง เรื่อย ๆ ไป  เป็นการเสริมแรงอย่างสม่ำเสมอการเสริมแรงเช่นนี้จะใช้เมื่อต้องการให้อินทรีย์เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว
        2. การเสริมแรงเป็นครั้งคราว  (Partially  reinforcement)  หมายถึงการเสริมแรงที่ไม่สม่ำเสมอ  กล่าวคืออาจเสริมแรงบางครั้งที่แสดงพฤติกรรมการเรียนรู้  หรืออาจไม่เสริมแรงบางครั้งที่แสดงพฤติกรรมการเรียนรู้  สลับกันไป ทั้งนี้  เพราะการเสริมแรงเช่นนี้จะใช้ต่อเมื่ออินทรีย์เกิดการเรียนรู้จากวิธีการเสริมแรงแบบที่ แล้ว  เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเบื่อหน่าย  ซ้ำซาก  จำเจ  แต่จะทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้นานคงทนถาวรไปเรื่อย ๆ เพราะครั้งใดก็ตามที่ไม่ได้รับการเสริมแรงก็ยังคาดหวังว่าจะได้รับการเสริมแรงบ้าง  พฤติกรรมการเรียนรู้จึงยังไม่หยุดชะงักทันทีทันใด  และเมื่อทำท่าจะหยุดชะงักลงก็ยังได้รับการเสริมแรงอีก
การเสริมแรงวิธีนี้  แบ่งเป็น 4 วิธีย่อย คือ
          2.1)     การเสริมแรงโดยใช้เวลากำหนดแบบตายตัว (Fixed Interval) เป็นวิธีที่ใช้เวลาที่คงที่กำหนดเป็นมาจรฐานว่าจะให้การเสริมแรงทุก3 นาที, 6 นาที, 9 นาที, 12นาทีฯลฯ  เขียนเป็นอัตราส่วนได้ดังนี้  3:1, 6:1, 9:1, 12:1  กล่าวคือ ถ้าแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ทุก 3 นาที  จะได้การเสริมแรง 1 ครั้ง
        แสดงอัตราการตอบสนองของหนู  เมื่อใช้เวลากำหนดตายตัว  (Fixed Intervalเขียนย่อว่า  F.I.)  จะเห็นว่า การใช้กำหนดเวลาในช่วงสั้น ๆ จะได้ผลดีกว่า  การใช้กำหนดเวลาในช่วงยาว ๆ คือมีอัตราการตอบสนองสูงกว่านั่นเอง
          2.2)  การเสริมแรงโดยใช้ผลงานหรือพฤติกรรมกำหนดแบบตายตัว (Fixed Ratio)  เป็นวิธีที่ใช้ผลงานหรือพฤติกรรมการตอบสนองที่คงที่เป็นเกณฑ์ว่าจะให้การตอบสนองเกิดกี่ครั้งจึงจะให้การเสริมแรงหนึ่งครั้ง  เช่น  กำหนดว่า  ถ้าหนูกดคานทุก 5 ครั้ง, 20 ครั้งหรือ 100 ครั้งจะให้อาหารเป็นตัวเสริมแรง 1 ครั้ง  ซึ่งเขียนเป็นอัตราส่วนได้ดังนี้  5:1, 20:1หรือ 100:1

       
        เป็นการแสดงอัตราการตอบสนองจากการกำหนดพฤติกรรมการกดคานของหนูเป็นเกณฑ์แบบตายตัว  (Fixed  Ratio  เขียนย่อว่า  FR)  จะเห็นว่ายิ่งช่วงของพฤติกรรมห่างมากเท่าใด  อัตราการตอบสนองยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น  นั่นคือการกำหนดพฤติกรรมมากมีผลดีกว่าการกำหนดพฤติกรรมน้อย
          2.3)การเสริมแรงโดยใช้ชาวงเวลาเป็นเกณฑ์  (Random or Variable Interval)  เป็นวิธีที่ใช้ช่วงของเวลา  กำหนดเป็นเกณฑ์ในการให้การเสริมแรงแต่ละครั้ง เช่น ถ้าหนูกดคานในช่วงเวลา 2-5 นาที  จะให้การเสริมแรงหนึ่งครั้ง  กล่าวคือเมื่อเวลาผ่านไป 2 นาทีในการเสริมแรง 1 ครั้ง  หรือเวลาผ่านไป 3 นาที ให้การเสริมแรง 1 ครั้ง  หรือเวลาผ่านไป 5 นาทีจะให้การเสริมแรง 1 ครั้ง  ทั้งนี้อาจอยู่ในช่วงใดช่วงหนึ่งตั้งแต่ 2 ถึง 5 นาที  ไม่กำหนดเวลาแน่นอนลงไปต่างจากวิธีที่ 2.1 ซึ่งกำหนดเวลาแน่นอน  วิธีนี้จะทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นนานคงทนกว่า 2 วิธีแรก  เพราะบางทีก็ได้รับการเสริมแรง  บางทีก็ไม่ได้รับการเสริมแรง   และถ้าหยุดแสดงพฤติกรรมเมื่อใด  ก็ยังคาดหวังว่าจะได้รับการเสริมแรงอีกพฤติกรรมการเรียนรู้จึงหยุดช้าลง  ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้นั้นนานคงทนถาวรไปเรื่อย ๆ
          2.4) การเสริมแรงโดยใช้ช่วงของพฤติกรรมเป็นเกณฑ์ (Random orVariable Ratio)  เป็นวิธีที่ใช้ช่วงของพฤติกรรมกำหนดเป็นเกณฑ์ในการให้การเสริมแรงแต่ละครั้ง  เช่น  ถ้าหนูกดคานในช่วง 3-5 ครั้ง  จะได้รับการเสริมแรงคืออาหาร 1 ครั้ง  บางครั้งหนูกดคาน 3 ครั้งก็ได้อาหาร 1 ครั้ง  บางครั้งหนูกดคาน 3 ครั้งก็ยังไม่ได้อาหาร  ต้องกดคานถึง5 ครั้งจึงจะได้อาหาร 1 ครั้ง  ถ้าหนูหยุดกดคานก็ไม่แน่ใจว่าจะได้อาหารอีกหรือไม่และถ้ากดคานไปเรื่อย ๆ ยังคาดว่าจะได้อาหารอีก  ดังนั้นพฤติกรรมการกดคานของหนูจึงหยุดช้าลงและจากผลการทดลอง  สกินเนอร์พบว่าวิธีที่ 2.4  ทำให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้นานที่สุด

        จะเห็นว่าการเสริมแรงบางครั้งบางคราวแบบเป็นช่วงไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาหรือช่วงพฤติกรรมจะทำให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้สูงสุด
        จะเห็นว่าอัตราการตอบสนองจากการเสริมแรงแบบเป็นช่วง (Variable)ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาหรือช่วงพฤติกรรม  จะมีการตอบสนองตลอดเวลา  กราฟ จึงออกมาเป็นรูปเส้นตรง  ซึ่งแตกต่างจากการตอบสนองจากการเสริมแรงแบบตายตัว (Fixed)  ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเวลาตายตัวหรือพฤติกรรมตายตัว  จะไม่มีการตอบสนองตลอดเวลาหรือไม่สม่ำเสมอ  กราฟจึงออกมาเป็นรูปหยัก  แสดงว่าวิธีเสริมแรงแบบเป็นช่วงดีกว่าแบบตายตัว



การนำไปใช้ในการเรียนการสอน
        ในวงการศึกษาตั้งแต่ปี  ค.. 1950  เป็นต้นมา  แนวความคิดของสกินเนอร์ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทั้งในสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก  จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ในประเทศไทยก็ได้รับอิทธิพลของทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์มาก  เห็นได้จากหลักฐานต่าง ๆ ดังนี้
        1.มรการใช้การสอนแบบโปรงแกรม หรือโปรแกรมการเรียนรู้แบบสำเร็จรูปซึ่งเน้นให้ผู้เรียน เรียนด้วยตนเอง โดยมีคำตอบที่ถูกต้องไว้เป็นการเสริมแรง ทั้งนี้เป็นการนำหลักของสกินเนอร์ซึ่งประดิษฐ์เป็นเครื่องช่วยสอนขึ้นในปี ค.ศ. 1954 มาใช้ ซึ่งครั้งแรกสกินเนอร์ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อช่วยสอนวิชาเลขคณิตและต่อ ๆ มาได้ใช้ช่วยสอนวิชาอื่น ๆ ด้วย
        เครื่องช่วยสอนของสกินเนอร์  แบ่งออกเป็น 2 ส่วน   ส่วนหนึ่งเป็นคำถาม  อีกส่วนหนึ่งเป็นช่องว่างให้ผู้เรียนเขียนคำตอบ  ถ้าเขียนคำตอบถูกก็จะมีคานกระดกกระดกคำตอบที่ถูกออกมา  ถ้าผิดก็จะไม่มีคำตอบจากคานกระดก  ต้องย้อนกลับไปทำใหม่จนกว่าจะถูก  คำถามมักจะเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก  เมื่อผู้เขียนตอบถูกในข้อหนึ่ง ๆ แล้วก็อยากที่จะเรียนรู้ในข้อต่อ ๆ ไป
        2.ใช้สอนวิธีการพูด ที่เรียกว่าพฤติกรรมทางวาจา (Verble Behavior)ในปี ค..  1936 สกินเนอร์ได้ผลิตเครื่องบันทึกเสียงเพื่อใช้ฟังเสียงการอ่าน การพูด ซึ่งเป็นประโยชน์มากในวงการศึกษาทางด้านภาษาต่อมาในปี ค.. 1954 สกินเนอร์ได้แต่งหนังสือชื่อ “พฤติกรรมทางวาจา” (Verbal Behavior)  มีสาระสำคัญคือ
        ก.   มนุษย์พูดเพราะมีความต้องการภายในเป็นแรงขับ  เช่น  ความหิว  ทำให้เด็ก
ร้องขออาหาร
        ข.   มนุษย์พูดเพราะเลียนแบบผู้อื่น
        ค.   มนุษย์พูดเพราะได้รับการเสริมแรงที่พอใจ  จึงอยากพูดอีก
        สกินเนอร์กล่าวว่า  ภาษาพูดเกิดจากการเรียนรู้เมื่อได้รับการเสริมแรง  ดังนั้นในปัจจุบัน
การฝึกหัดให้เด็กพูดหรือการสอนพูดโดยใช้การเสริมแรงเป็นวิธีการที่นำทฤษฎีของสกินเนอร์มาใช้
นั่นเอง
        3.การใช้พฤติกรรมบำบัด  (Behavior therapy)วิธีนี้จะใช้ดัดแปลงพฤติกรรมที่ต้องการโดยใช้การเสริมแรงที่อินทรีย์พอใจ  เช่นการสอนให้สุนัขคาบหนังสือพิมพ์มาให้  โดยการให้อาหารคือเนื้อเป็นการเสริมแรง  การสอนให้เด็กขยันทำการบ้านโดยการเขียนชื่อผู้ส่งการบ้านติดไว้บนบอร์ดให้บุคคลทั่วไปมองเห็น  เพื่อยกย่องชมเชย เป็นต้น  วิธีนี้ใช้มากในปัจจุบัน  และใช้ได้ในทุกวงการ  ไม่ว่าจะเป็นวงการศึกษาหรือวงการแพทย์  ในวงการศึกษา เป็นการดัดแปลงพฤติกรรมให้มนุษย์เกิดการเรียนรุ้  โดยการเสริมแรง  ในวงการแพทย์เป็นการรักษาคนไข้โรคจิตให้แสดงพฤติกรรมเป็นที่ยอมรับของสังคมโดยการเสริมแรงไม่ใช่การลงโทษเช่นสมัยก่อน
        4.การใช้กฎการเรียนรู้ทั้งสองกฎในการเรียนรู้
        กฎที่ คือกฎการเสริมแรงทันทีทันใด  มักใช้เมื่อต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว เช่น  ทุกครั้งที่เด็กตอบคำถามถูกเราจะรีบเสริมแรงทันที  ได้แก่การกล่าวชม หรือได้รางวัลเป็นสิ่งของ
        กฎที่ คือการเสริมแรงเป็นครั้งเป็นคราว  มักใช้เมื่อต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้นานต่อไปเรื่อย ๆ โดยอาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่งใน 4 วิธี (ดังรายละเอียดที่กล่าวไว้ในข้อ  2.1 – 2.4)แล้วแต่ความเหมาะสมของผู้เรียนและโอกาสที่จะใช้  ผู้เขียนเคยทดลองใช้กับเด็กในระดับประถม,มัธยมและอุดมศึกษา  พบว่า  วิธีที่  2.1  เหมาะสำหรับเด็กชั้นประถม
                             วิธีที่  2.2  เหมาะสำหรับเด็กชั้นมัธยม
                             และวิธีที่  2.3  และ  2.4  เหมาะสำหรับเด็กชั้นอุดมศึกษา  โดยเฉพาะพวกที่มีระดับเชาวน์ปัญญาค่อนข้างสูงกว่าระดับปกติ

ข้อวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับทฤษฎีของสกินเนอร์
        ข้อโต้แย้ง
        1.  นักจิตวิทยาบางคนไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีของสกินเนอร์ เพราะทดลองกับสัตว์มิได้ทดลองกับมนุษย์โดยตรง การเรียนรู้บางอย่างกับสัตว์จึงอาจแตกต่างกันได้ถ้านำมาใช้กับมนุษย์
        2.  ภายหลังที่สกินเนอร์นำคนมาทดลอง ก็ถูกโต้เย้งว่าใช้คนน้อยเกินไป ไม่เป็นตัวแทนที่จะอธิบายถึงคนทั่ว ๆ ไปได้ดี
        3.  วิธีการของสกินเนอร์อาจใช้ได้ดีในวงการครูเท่านั้น อาจใช้ได้ไม่ดีในวงการวิทยาศาสตร์

        ข้อสนับสนุน
        1.  นักจิตวิทยาส่วนใหญ่เชื่อกันว่า วิธีการเสริมแรงทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
        2.  แนวความคิดของสกินเนอร์คล้ายกับแนวความคิดของกัทธรี (Guthrie) และวัตสัน(Watson) คือเน้นรายละเอียดของสภาพการณ์การฝึกให้เกิดการเรียนรู้ และสนใจพฤติกรรมภายนอกมากกว่าพฤติกรรมภายใน แต่การทดลองของสกินเนอร์ก็ยังก้าวหน้ากว่าการทดลองของกัทธรีและวัตสัน
        3.  แบนดูรา (Bandura)  เป็นอีกผู้หนึ่งที่สนับสนุนแนวความคิดของสกินเนอร์  ที่ว่า  การกระทำใดที่ได้รับการเสริมแรง  จะมีแนวโน้มให้เกิดการกระทำนั้นอีก  ส่วนการกระทำที่ไม่ได้รับการเสริมแรง  ย่อมมีแนวโน้มที่จะทำให้ความถี่ของการกระทำนั่นค่อย ๆ ลดลง และหายไปในที่สุด  มาใช้ในการปรับพฤติกรรมของเด็กในชั้นเรียน  โดยใช้การเสริมแรงต่อพฤติ-กรรมที่ปรารถนา  เช่น การตอบคำถาม  และไม่ใช้การเสริมแรงเมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมไม่พึงปรารถนา เช่น การพูดโกหก  การแสดงอาการก้าวร้าวไม่เคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่  ฯลฯ  พฤติกรรมดังกล่าวจะลดลงจนในที่สุดจะหายไป
        แบนดูราเสนอวิธีการปรับพฤติกรรมโดยยึดหลักการเรียนรู้ของสกินเนอร์ได้ 2 ประการ  ดังนี้

        (1)   ให้การเสริมแรงต่อพฤติกรรมที่พึงปรารถนา
        (2)   ไม่ให้การเสริมแรงต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา
        นอกจากนี้  ยังเสนอการปรับลำดับขั้นของการปรับพฤติกรรมดังนี้
        (1)   ตั้งวัตถุประสงค์ในการปรับพฤติกรรม ว่าต้องการให้เกิดพฤติกรรมใดบ้าง
        (2)   เลือกโอกาสในการเสริมแรง ว่าโอกาสใดควรใช้การเสริมแรงทางบวก, การเสริมแรงทางลบ หรือเมื่อใดไม่ให้การเสริมแรง
        (3)   สังเกตและทำบันทึกว่า บุคคลนั้น ๆน มีสภาพการณ์ใดที่เหมาะสมกับการให้การเสริมแรง และเมื่อใดที่ไม่ควรให้การเสริมแรง
        (4)   มีการติดตามผล โดยการตรวจสอบผลที่ได้จากการทดลอง ถ้าได้ผลตามที่ตั้งจุดประสงค์เอาไว้ หแสดงว่าวิธีการที่ใช้มีประสิทธิภาพ แต่ถ้าไม่ได้ผลต้องทำการศึกษาเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป
        การเสริมแรงในการปรับพฤติกรรม  เน้นที่การใช้การเสริมแรงทางบวก  มากที่สุด เนื่องจากมีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค  และแบบอาการกระทำกันอย่างกว้างขวาง  จึงได้นำมาเปรียบเทียบไว้ในตารางที่ 10  ดังนี้











ตารางที่   เปรียบเทียบการเรียนรู้ระหว่างการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกกับแบบอาการกระทำ
ที่
เนื้อเรื่อง
การวางเงื่อนไข
แบบคลาสสิค
การวางเงื่อนไข
แบบอาการกระทำ
1.
หลักการเรียนรู้
-ใช้สิ่งเร้า 2 สิ่งคู่กัน  เพื่อให้
เกิดการเรียนรู้  ดังไดอะแกรม
CS + UCS                  UCR
-ใช้สิ่งเร้าสิ่งเดียว  ให้เกิดการ
เรียนรู้  เมื่อแสดงพฤติกรรมการ
เรียนรู้  แล้วจึงให้การเสริมแรง
ดังไดอะแกรม
CS    CR

UCS



2.






3.



การทดลอง






กฎการเรียนรู้

-  UCS คือการจูงใจเพราะใช้
ก่อนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้

-ใช้สุนัขทดลอง  โดยดูการ
ตอบสนองจากปฏิกิริยาสะท้อน
(Reflex)  ซึ่งเป็นการทำงาน
ของระบบประสารทอัตโนมัติ
(Autonomic  nervous
system)  ซึ่งทำแบบไม่จงใจ
เป็นไปโดยอัตโนมัติ
-เน้นการนำสิ่งเร้าที่คล้ายคลึง
กันมาทำให้เกิดพฤติกรรมอย่าง
เดียวกัน  และนำสิ่งเร้าที่แตก
ต่างกันมาทำให้เกิดพฤติกรรมที่
แตกต่างกันออกไป
นั่นคือเน้นสิ่งเร้ามากกว่า
การตอบสนอง
จึงเรียกว่า S-S theory
-UCS คือการเสริมแรงเพราะ
ใช้หลังจากเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้
- ใช้หนูหรือนกพิราบทดลอง
โดยดูการตอบสนองจาก พฤติ-
กรรมที่จงใจกระทำเอง  จากผู้
เรียนรู้  อันเป็นการทำงานของ
ระบบประสาทส่วนกลาง
(Central  nervous
system)
-เน้นการเสริมแรงที่อินทรีย์
พอใจ  เมื่อต้องการดัดแปลง
พฤติกรรมที่ต้องการ
นั่นคือเน้นการตอบสนอง
มากกว่าสิ่งเร้า
จึงเรียกว่า  S-R theory






ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์สามารถนำไปใช้ในการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน
     ได้ดังนี้
1. ใช้เสริมแรงให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมความกล้าแสดงออก เช่น กล่าวยกย่องชมเชย เมื่อผู้เรียนกล้าตอบคำถาม เป็นการเสริมแรงโดยใช้คำพูด จะช่วยปลูกฝังนิสัยที่ดีแก่ผู้เรียนได้ โดยการเสริมแรงต้องทำบ่อยๆเสมอๆ จนผู้เรียนติดเป็นนิสัยและมีพฤติกรรมที่ดีติดตัวตลอดไป
2. ใช้ในการแก้ปัญหาพฤติกรรมเด็กที่ขี้อายขาดความมั่นใจ ไม่ค่อยชอบเข้าสังคมโดย โดยให้ความสนใจ พูดคุยด้วย  เมื่อผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน แต่หากผู้เรียนไม่เข้ากลุ่มหรือไม่ร่วมกิจกรรมกับเพื่อนในชั้นเรียน ครูจะไม่สนใจไม่พูดคุยด้วย ครูทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ พร้อมกับสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผู้เรียนมีพฤติกรรมดีขึ้นตามที่ผู้สอนต้องการสามารถแก้ไขพฤติกรรมการขาดความมั่นใจไม่ชอบเข้าสังคมของผู้เรียนได้


Tagged: , ,

1 ความคิดเห็น: