วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

          - ระดับปฐมวัย การพัฒนาการของผู้เรียนในระดับนี้ จะเริ่มทำกิจกรรม และใช้ภาษาในการสื่อสารกับผู้อื่นได้มากขึ้น อวัยวะต่าง ๆ ยังไม่สามารถที่จะทำงานสอดคล้องกันมากนัก ผู้สอนควรที่จะจัดกิจกรรมสร้างเสริมให้ผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ผู้เรียนในวัยนี้ยังมีความคิดความเข้าใจที่เกี่ยวกับการรับรู้ทางตาเท่านั้น ยังไม่สามารถเข้าใจด้วยเหตุผลได้ ซึ่งการจัดการเรียนการสอนนั้น อาจจะให้อยู่ในรูปแบบของการสร้างความคิดรวบยอดให้กับสิ่งต่าง ๆ โดยใช้การรับรู้ลักษณะภายนอกที่เด่นชัด จำแนกแยกแยะจัดหมวดหมู่จากภาพที่เห็น การพัฒนาทางอารมณ์นั้นเด็กจะเลียนแบบการแสดงท่าทางจากพ่อ แม่ ครู อาจารย์เป็นต้น เด็กต้องการเป็นตัวของตัวเอง การยอมรับและความเอาใจใส่ช่วยการวางรากฐานทางอารมณ์ และปรับตัวได้อย่างเหมาะสม ควรยอมรับอารมณ์ความรู้สึกของเด็ก ควรหลีกเลี่ยงการลงโทษทั้งทางร่างกาย และจิตใจ เด็กที่ได้รับการดูแลให้ความรู้สึกอิ่มอุ่น หรือสบาย ย่อมเชื่อมโยงระหว่างความรู้สึกเป็นสุข ความรัก และความผูกพันกับคนเหล่านั้น และบางครั้งความกลัวของเด็กก็อาจจะเกิดจากการวางเงื่อนไข ส่วนอารมณ์โกรธอาจเกิดจากข้อจำกัดทางร่างกาย หรือการไม่เข้าใจความคิดของผู้อื่นก็อาจทำให้เกิดความขัดแย้งคับข้องใจ เด็กมักใช้จินตนาการสร้างการตอบสนองต่อตนเอง เช่นการสร้างเพื่อนในความคิด แต่ยังไงเด็กก็ยังต้องการการดูแล จากผู้ใหญ่ด้วยการซักถาม ออดอ้อน เอาใจเป็นต้น เด็กเริ่มมองเห็นความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิง ส่วนมากเด็กเลียนแบบบทบาทผู้ที่ตนประทับใจเพศเดียวกับตน เด็กอาจเรียนรู้จากการสั่งสอนอบรมและจากการสังเกต เป็นรากฐานการแสดงออก จากที่เด็กชอบเล่นตามลำพังในช่วงอายุ 2 – 3 ขวบ ต่อมาเด็กจะเล่นอยู่ในกลุ่มเพื่อน โดยที่ยังไม่เล่นด้วยกันในช่วงอายุ 3 – 4 ขวบ หลังจากนั้นเด็กจึงจะเรียนรู้ที่จะเล่นด้วยกัน จนถึงขั้นของการสร้างมิตรภาพกับผู้อื่นในช่วง 4 – 5 ขวบ ในระยะนี้เด็กจะได้เรียนรู้ พัฒนาจากการที่สนใจแต่ตนเองไปสู่การเข้าใจความรู้สึกของเพื่อนมากขึ้น เรียนรู้การให้ และการรับ การผูกมิตรกับเพื่อน ๆ เด็กรวมกลุ่ม และหมุนเวียนกันเป็นผู้นำตามความสามารถ สามรถปรับตัวทางสังคมได้อย่างเหมาะสม อยากทดลองทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองอย่างอิสระ เริ่มรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง เด็กมนระยะนี้จึงควรได้รับโอกาส และการสนับสนุนตามความถนัด ความสามารถ ความสนใจ ที่รู้สึกว่าตนเองมีความสามารถ ก้อให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง เด็กวัยอนุบาลสามารถเรียนรู้ได้จากประสาทสัมผัส ประสบการณ์ตรงของตนเอง ยึดตนเองเป็นหลัก ยังไม่เข้าใจความคิดความรู้สึกของคนอื่น ไม่รู้จักการเอาใจเขามาใส่ใจเรา เด็กเริ่มเข้าใจในสิ่งแวดล้อม และเขาเพิ่งได้รู้จักใช้ความสามารถทางร่างกายจึงทำให้เขากระตือรือร้นที่จะแสดงความสามรถเหล่านั้นออกมา เด็กสามารถคิดเปรียบเทียบ จัดลำดับ แยกหมวดหมู่ได้บ้าง แต่ยังไม่เข้าใจเรื่องน้ำหนัก ปริมาตร ปริมาณของวัตถุ ดังนั้นจึงควรให้โอกาสเด็กสำรวจเรียนรู้ และมีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งการได้รับคำชมเชยความสามารถที่เป็นจริงทำให้มั่นใจ ภาคูมิใจที่จะพัฒนาความสามารถของตนเองให้มากขึ้น การฝึกทักษะการใช้ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของร่างกายช่วยกระตุ้นให้ก่อเกิดความคิด ระยะนี้เด็กจะเริ่มเรียนรู้ และเจ้าใจเรื่องจริยธรรมคิดว่าสิ่งที่ถูกต้องคือทำตามสิ่งที่ผู้ใหญ่ชมหรืออนุญาต และมองสิ่งที่ไม่ถูกต้องคือสิ่งที่ผู้ให้ห้าม หรือการกระทำที่ทำแล้วจะถูกลงโทษเด็กในวัยนี้จะเรียนรู้การแสดงออกตามความสามารถ และเริ่มมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ครูควรปล่อยให้เกิดการพัฒนาตามวัยให้มากที่สุด ในทางกลับกันหากมีการเร่งรัดให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับพัฒนาการของวัยแล้วก็จะไม่เป็นผลดีกับเด็ก
          - ระดับประถมศึกษา การพัฒนาการของผู้เรียนในระดับนี้ สามารถที่จะฝึกทำสิ่งต่าง ๆ และสร้างทักษะด้วยตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นการเล่น การเรียน หรือการทำงานร่วมกับเพื่อน ตลอดจนการสร้างมิตรภาพกับเพื่อน ๆ ที่มีความสนใจเหมือน ๆ กันระบบกล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหวเรื่องมีการทำงานประสานกันดีขึ้น ในวัยนี้นั้นสามารถที่จะจัดเรียงลำดับได้ดีขึ้น นับว่าเป็นขั้นของการวางรากฐานของการศึกษา จำเป็นต้องพัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้จากการฟัง พูด อ่าน เขียน คิด ผู้เรียนสามารถที่จะเข้าใจ และคิดเชิงเหตุผลได้ จึงสามารถที่จะเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ คณิตศาสตร์ เริ่มคิดในสิ่งที่เป็นนามธรรม และเน้นการพัฒนาการทางภาษาควบคู่ไปด้วย โดยเด็กในวัยนี้มีพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อ และระบบประสาทที่ก้าวหน้ามาก ลักษณะทางร่างกายทั่งไปอยู่ในช่วงอายุประมาณ 7 – 8 ขวบนั้น เด็กจะมีการพัฒนาการเจริญเติบโตช้าแต่สม่ำเสมอ กระดูกมือยังไม่แข็งแรง ฟันน้ำนมจะหลุดออกโดยมฟันแท้งอกออกมาแทนที่ รูปร่างสูงเพรียวกว่าเดิม ลำตัวยาว แขนขายาวออก รูปร้างเริ่มเปลี่ยนแปลงแบบลักษณะผู้ใหญ่ ระบบหมุนเวียนโลหิตเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะเด็กชายสามารถใช้กล้ามเนื้อใหญ่ และกล้ามเนื้อย่อยคล่องแคล่วมากกว่าวัยอนุบาล และมีทักษะการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อได้ดี ชอบทำกิจกรรม ชอบออกกำลังกาย และเล่นกีฬากลางแจ้งที่ต้องใช้ความรวดเร็ว ทั้งนี้พัฒนาการด้านส่วนสูง และน้ำหนักของเด็กแต่ละคนอาจเป็นผลจากพันธุกรรม หรือสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และสังคม ประสาทสัมผัสของเด็กวัยนี้สามารถที่จะทำกิจกรรมที่มีรายละเอียดได้ เช่น การวาดรูป ระบายสี ปั้นรูป เป็นต้น เด็กสามารถทำกิจกรรมจ่าง ๆ ด้วยตัวเองได้ การใช้เวลาส่วนใหญ่จะหมดไปกับเพื่อนเป็นกลุ่ม เด็กชายชอบเล่นกีฬา ชอบการต่อสู้ไล่จับ และการแสดงโลดโผน ลักษณะทางอารมณ์ เด็กเริ่มลดความคิดที่ว่าตนเองเป็นศูนย์กลาง สามารถทำความเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นมากขึ้น ควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น เด็กในวัยนี้เริ่มเรียนรู้การแสดงออกที่เหมาะสม ได้รับการยอมรับเมื่อเกิดอารมณ์ มีการเรียนรู้การปรับอารมณ์ความรู้สึก ในวัยนี้การได้เป็นสมาชิกของกลุ่มจะมีอินทธิพลต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กเป็นสำคัญ เด็กจะเริ่มเรียนรู้ว่าการแสดงอารมณ์ที่ตนเองรู้สึกโดยเลือกเวลา สถานที่ บุคคล ทั้งนี้ความสามารถควบคุมอารมณ์ขึ้นอยู่กับการฝึกอบรม จากงานวิจัยได้กล่าวว่า วัยประถมศึกษาเป็นวัยที่ผู้ใหญ่ส่วนมากจะระบุว่าเป็นวัยที่มีความสุขที่สุด แม้ว่าวันรุ่นบางคนยังอยากจะกลับไปอยู่ในวัยประถม เด็กแสดงอารมณ์ความรู้สึกอย่างเปิดเผย เรียงร้องความรักความสนใจจากครู ด้วยการช่วยทำกิจกรรมต่าง ๆ ในระยะนี้ เด็กจะเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองมากขึ้น เข้าใจอารมณ์ของตนเอง รู้จักควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกและแสดงออกอย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้นตามควรแก่วัย ในช่วงวัยนี้ เด็กมีความกลัวที่ค่อนข้างสมเหตุสมผล มากกว่าวัยเด็กเล็ก เพราะเด็กมีพัฒนาการด้านความคิดที่มีเหตุผลมากขึ้น มีความเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น เด็กอาจเกิดความรู้สึกด้านลบต่อสิ่งต่าง ๆ หากตนเองถูกขัดขวางไม่ให้ไปถึงเป้าหมาย เด็กอาจหนีปัญหาด้วยการใช้กลไกในการป้องกันตัว เช่นการโทษว่าสิ่งที่ผิดพลาดนั้นตนเองไม่ได้ทำ แต่เป็นการกระทำความผิดพลาดของผู้อื่นเป็นต้น การพัฒนาทางสังคมนั้น เด็กเริ่มให้ความสำคัญกับอาจารย์ ก่อนที่จะก้าวต่อไปสู่เพื่อนในวัยรุ่น เด็กต้องการเรียนรู้การใช้ชีวิตที่เป็นอิสนะ ทั้งเด็กผู้ชาย และเด็กผู้หญิง พอใจที่จะแยกตัวออกจากเพศตรงข้ามตั้งกลุ่มกับเพื่อนเพศเดียวกัน ร่วมกันสร้างกฎเกณฑ์ ค่านิยม และบรรทัดฐานที่คนในกลุ่มยอมรับ เด็กเรียนรู้การดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น เริ่มเรียนรู้บทบาททางสังคมของตนเอง การปรับตัวเข้ากับเพื่อเพศเดียวกันวัยเดียวกัน ได้รับอิทธิพลด้านความคิด เจตคติ ค่านิยมจากกลุ่ม ในบางกรณีค่านิยมของกลุ่มอาจขัดแย้งกับค่านิยมเดิม เด็กเรียนรู้จากการสังเกตเพื่อในวัยเดียวกับตนและเลียนแบบจากผู้ใหญ่เพศเดียวกัน เด็กเริ่มมีความรับผิดชอบมากขึ้น เด็กจะเลือกหัวหน้ากลุ่มโดยดูจากความสามารถ และลักษณะของกิจกรรม เด็กเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมวัย ส่วนใหญ่เล่นกิจกรรมตามจินตนาการ หรือบทบาทสมมุติมากกว่าการเล่นแบบแข่งขัน กลุ่มเพื่อนร่วมวัยเริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างมาก และจะทวีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ เด็กจะรู้สึกสนุกสนานอบอุ่นใจเมื่อตนมีส่วนร่วมในกลุ่ม รู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของกลุ่ม ขณะเดียวกันเด็กจะคลายความผูกพันระหว่างตนเองกับครู และผู้ใหญ่ ทั้งในและนอกบ้าน เด็กได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนในด้านอารมณ์ ความคิด เจตคติ ค่านิยม ความมุ่งหวัง หรือแม้แต่การแสดงออกตามบทบาททางเพศ ฯลฯ เด็กในวัยนี้ค่อนข้างให้ความสำคัญกับการเข้ากลุ่มทำให้เด็กพยายามปรับตัวให้เพื่อนในกลุ่มยอมรับ บางคนเป็นผู้นำ บางคนเป็นผู้ตาม บางคนพูดเก่ง บางคนเป็นผู้ฟัง เป็นต้นวัยเด็กตอนปลายรวมกลุ่ม เป็นเพศชายทั้งกลุ่มหรือเพศหญิงทั้งกลุ่ม มีวัฒนธรรมของกลุ่ม ภาษา กฎ ระเบียบเป็นแนวทางการปฏิบัติตามวัฒนธรรมกลุ่ม เด็กวัยนี้เรียนรู้บทบาททางเพศต่อเนื่องมาจากวัยเด็กตอนต้น เริ่มด้วยการเลียนแบบบทบาททางเพศจากผู้ใกล้ชิด คนในครอบครัวคนที่ตนประทับใจ เด็กชายมักไม่ยอมให้เด็กชายที่มีนิสัยเหมือนเด็กหญิงเข้ากลุ่ม เช่น ขี้กลัว ช่างฟ้อง งอแง ส่วนกลุ่มเด็กหญิงจะกีดกันเด็กหญิงที่มีลักษณะที่ดูเหมือนเด็กชายเช่น ก้าวร้าว หยาบคาย เป็นต้น ลักษณะทางสติปัญญาของเด็กในวัยนี้มีพัฒนาการอยู่ในขั้นของการเริ่มมีความคิดความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงรูปธรรม เช่น สามารถเข้าใจเกี่ยวกับการคงสภาพเดิมของน้ำหนัก (อายุประมาณ 6 ปี) เข้าใจเกี่ยวกับการคงสภาพเดิมของปริมาณ (อายุประมาณ 7 ปี) เข้าใจเกี่ยวกับการคงสภาพเดิมของปริมาตรของวัตถุ (อายุประมาณ 5 ปี) ทั้งนี้เด็กยังมีความสามารถที่จะจัดเรียงลำดับได้ดีขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นระยะเวลาของการวางรากฐานของการศึกษา พัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้จากการฟัง พูด อ่าน เขียน คิด ทั้งในแนวกว้างและแนวลึกตามวัย สามารถที่จะเข้าใจและสามารถคิดเชิงเหตุผล แยกหมวดหมู่ จัดลำดับ เรียงลำดับจากเล็กไปหาใหญ่ สามารถคิดย้อนกลับไปมาได้ สามารถที่จะเข้าใจความหมาย สัญลักษณ์ คณิตศาสตร์ เริ่มคิดในสิ่งที่เป็นนามธรรม พัฒนาการทางภาษามีความเจริญก้าวหน้าขึ้นไปอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ความสามารถในการเรื่องจำนวนว่ายังคงที่แม้ว่าวัตถุจะวางอยู่ห่างกัน การสลับที่ของวัตถุไม่ทำให้จำนวนหรือความยาวเปลี่ยนไป พื้นที่ของกระดาษครึ่งแผ่นเท่ากับพื้นที่ของกระดาษครึ่งแผ่นเดิมก่อนถูกตัด ดินน้ำมันสองก้อนมีน้ำหนักเท่ากันแม้ว่าจะกดก้อนหนึ่งให้แบนออกไป สามารถจัดหมวดหมู่สิ่งต่าง ๆ เป็นหลายมิติ มีความเข้าใจการคงสภาพของสสาร ปริมาณ น้ำหนัก สามารถจัดเรียงลำดับ ครอบครัวและสังคมคาดหวังว่าเด็กจะต้องเรียนรู้อย่างจริงจังมากกว่าวัยอนุบาล ควรอ่านหนังสือออก คิดเลขได้และมีความรู้รอบตัวที่สามารถพึ่งตนเองได้ ดังนั้นครูและนักจิตวิทยาจึงควรให้ความสำคัญกับเด็กที่ผลการเรียนไม่สอดคล้องกับความสามารถทั้ง ๆ ที่ไม่มีความบกพร่องทางสติปัญญา แต่อาจมีความบกพร่องที่มองไม่เห็นโดยตรง

          - ระดับมัธยมศึกษา การพัฒนาการของผู้เรียนในระดับนี้ อยู่ในช่วงของวัยรุ่น ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญในการปรับตัว เริ่มที่จะมีความรับผิดชอบตนเอง มีการเจริญเติบโตของร่างกายไปอย่างรวดเร็ว เริ่มมีการแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างชัดเจน เมื่อลักษณะทางร่างกายเจริญเติบโตจนสามารถทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ ลักษณะทางเพศขั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิ ร่างกายของวัยรุ่นจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็วรูปร่างทรวดทรงเปลี่ยน โดยที่แสดงถึงความเป็นหญิงความเป็นชายอย่างเต็มที่ เป็นการเปลี่ยนจากเด็กที่ไม่มีความสมบูรณ์ทางเพศไปสู่ความสมบูรณ์ทางเพศที่พร้อมจะสืบพันธุ์ทางร่างกายได้ อวัยวะเพศเติบโตเต็มที่และพร้อมที่จะทำหน้าที่ได้เช่นเดียวกับวัยผู้ใหญ่ ลักษณะความเจริญเติบโตของร่างกายภายนอก โครงสร้างของร่างกายส่วนกระดูกและฟันเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปกระดูกของเพศหญิงเติบโตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 17-18 ปี ส่วนเพศชายเติบโตเต็มที่เมื่ออายุประมาณช้ากว่าประมาณ 2 ปี คืออายุประมาณ 19-21 ปี ในด้านพัฒนาการเกี่ยวกับฟันของวัยรุ่นนั้น เมื่อเริ่มเข้าสูวัยรุ่นนั้นเพศชายและหญิงมีฟันแท้ 28 ซี่ จนเมื่อสิ้นสุดวัยรุ่นก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่จึงมีฟันแท้ครบ 32 ซี่ ส่วนพัฒนาการด้านลำตัว รูปร่างหน้าตา ทรวดทรงเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ลำตัว ขา มือ เท้าพัฒนาขึ้น เพศหญิงจะมีกระดูกเชิงกรานขยายตัวออกทำให้เอวคอดสะโพกขยายออก หน้าอกขยายขึ้น เด็กชายมีกระดูกหัวไหล่ขยายตัวทำให้ไหล่กว้างขึ้น เสียงต่ำลง มีหนวดเครา เป็นต้น ลักษณะของสรีระวิทยาภายในร่างกายได้รับอิทธิพลจากต่อมไร้ท่อทั้งต่อมใต้สมอง และต่อมเพศหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของระบบประสาทและสมอง ทำให้เด็กวัยรุ่นสามารถรับรู้ เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เชาว์ปัญญาพัฒนาขึ้นมาก ส่วนระบบย่อยอาหารจะพัฒนาการให้รับกับพลังงานจากการรับประทานอาหารได้อย่างสอดคล้องและสมบูรณ์ การพัฒนาการทางสังคม เด็กวัยนี้ได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน เป็นวัยของการทำกิจกรรมอันเป็นรากฐานของการสร้างสัมพันธภาพทางสังคมในอนาคต การแสวงหาประสบการณ์จากการทำกิจกรรม ต่าง ๆ ในบทบาทของผู้นำ ผู้ตามในกลุ่มซึ่งช่วยให้เด็กวัยรุ่นได้สำรวจคุณลักษณะ ความถนัด ความสนใจ ทัศนคติ ค่านิยม ภาพสะท้อนของตนเองจากบุคคลที่แวดล้อม เช่น กลุ่มเพื่อน ครู บิดามารดา เป็นส่วนหนึ่งที่สังคมเอื้ออำนวยให้วัยรุ่นได้เห็นเอกลักษณ์ของตนเอง และตำแหน่งทางสังคมที่ตนเองดำรงอยู่เด็กวัยรุ่นจะเกิดความเข้าใจในบทบาททางสังคมของตนเองที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เด็กวัยรุ่นให้ความสนใจ และยกย่องบุคคลที่ตนให้คุณค่า และพยายามเลียนแบบบุคคลนั้น การเข้าสู่สังคมมีความหมายต่อวัยรุ่นมากกว่าวัยเด็กเพราะไม่ใช่เพียงการแสวงหาการยอมรับจากเพื่อนในกลุ่มเท่านั้นแต่หมายถึงการมีส่วนได้รับการมีส่วนร่วมเสมือนการเป็นเจ้าของบ้าน การมีกลุ่มสนับสนุนทำให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยพอที่จะแยกออกจากครอบครัวมาเปิดรับประสบการณ์ใหม่ในสังคม เรียนรู้บทบาททางสังคมของการมีส่วนร่วมรับผิดชอบในกลุ่มที่เป็นเสมือนตัวแทนของสังคมใหญ่ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ วัยรุ่นเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพ ความสามารถพึ่งตนเองเป็นอิสระจากพ่อแม่วัยรุ่นต้องการให้ผู้ใหญ่ปฏิบัติต่อเขาอย่างเท่าเทียมกับผู้ใหญ่ ไม่ต้องการให้ผู้ใหญ่ปฏิบัติต่อตัวเอง เช่น เด็กเล็กๆอีกต่อไปหากผู้ใหญ่ไม่ใช้เหตุผลแต่ใช้อำนาจบังคับวัยรุ่นจะดื้อดึงทำในสิ่งตรงกันข้าม วัยรุ่นกับเพื่อนวัยเดียวกันเด็กให้ความสำคัญกับกฎและบรรทัดฐานของกลุ่ม เป็นวัยที่ได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนค่อนข้างมาก วัยรุ่นที่รู้สึกว่าตนเองไม่มีความสามารถ เห็นคุณค่าตนเองน้อยคล้อยตามและมักจะทำตามความคาดหวังของกลุ่ม เด็กที่เพื่อนถือเป็นแบบคือผู้ที่เป็นผู้นำมีความสามารถที่กลุ่มยอมรับ มีบุคลิกภาพดึงดูดใจ สามารถให้รางวัลและลงโทษได้ วัยรุ่นแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง เริ่มจากเลือกคนที่มีชื่อเสียงเป็นบุคคลในอุดมคติ อาจเป็นดาราภาพยนตร์ นักกีฬา แล้วพยายามพัฒนาตนตามนั้น แสวงหาประสบการณ์จาก การทำกิจกรรมนอกหลักสูตร การเล่นกีฬา เป็นต้น เพศหญิงเริ่มสนใจเพศตรงข้ามก่อนเพศชาย การปรับตัวกับเพศตรงข้าม ควรให้วัยรุ่นรู้สึกว่าผู้ใหญ่รัก ปรารถนาดีพร้อม ๆ กับเชื่อมั่นไว้วางใจ การตรวจสอบค่านิยมและเจตคติอาจทำให้เกิดความขัดแย้ง กับค่านิยม ประเพณีวัฒนธรรมที่ตั้งอยู่เดิม สมองของวัยรุ่นเจริญเกือบเท่าวัยผู้ใหญ่ตอนต้น มีพัฒนาการทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ สามารถเรียนรู้สิ่งที่เป็นเรื่องซับซ้อนนามธรรม สามารถคิดนามธรรมได้โดยไม่ต้องมีวัตถุเป็นสื่อ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ไขปัญหาได้ มีความคิดแบบอุดมคติ วัยรุ่นมีความเข้าใจเรื่องค่านิยมและเลือกค่านิยมที่สอดคล้องกับตนเองมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต เป็นวัยที่มีศักยภาพสูง ต้องการแสดงความเป็นตัวของตัวเอง ต้องการอิสระในการแสดงออก สามารถคิดนามธรรมโดยไม่ใช้วัตถุเป็นสื่อได้ สามารถคิดรวบยอด วิเคราะห์ ตีความหมาย ตั้งสมมติฐานเพื่อแสวงหาความเป็นจริง พัฒนาความคิดเชิงอุดมคติที่เข้มข้น มีพลังศักยภาพสูง ต้องการอิสระในการแสดงความคิดเห็น สิ่งแวดล้อม ที่เหมาะสมจะส่งเสริมสนับสนุนให้สติปัญญาที่ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากพันธุกรรมได้เจริญงอกงามอย่างเต็มที่ ซึ่งพัฒนาการของวัยรุ่นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตก้าวต่อไปเพราะเป็นก้าวที่สำคัญของชีวิตที่มนุษย์เริ่มต้นสู่การเป็นตัวของตัวเอง พึ่งตนเอง เตรียมก้าวสู่โลกกว้างของการเรียนรู้และสร้างชีวิตใหม่และการเป็นหัวหน้าครอบครัวต่อไป

Tagged: , ,

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น