ประวัติ
เอิร์ลโฮเวิร์ดการ์ดเนอร์(เกิด 11 กรกฎาคม 1943 ใน
สแครนตัน, เพนซิล ) คือชาวอเมริกัน
นักจิตวิทยาพัฒนาการที่เป็นศาสตราจารย์ของความรู้
การศึกษาที่โรงเรียนฮาร์วาร์บัณฑิตศึกษา
ที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ,
ผู้อำนวยการอาวุโสของ Zero
ฮาร์วาร์โครงการและผู้เขียนหนังสือกว่ายี่สิบแปลในสามสิบภาษา ตั้งแต่ปี 1995 เขาได้รับการร่วมอำนวยการของโครงการ GoodWork เขาเป็นที่รู้จักดีที่สุดสำหรับเขาในทฤษฎีของพหุปัญญา .และได้รับรางวัลเจ้าฟ้าชายแห่งอัสตูเรีย2011
ในสาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาของทฤษฎีพหุปัญญา การ์ดเนอร์แต่งงานกับเอลเลนผู้ชนะเลิศ พวกเขามีเด็กคนหนึ่งเบนจามินเกิดในปี 1985 การ์ดเนอร์มีลูกสามคนจากการแต่งงานก่อนหน้านี้:
Kerith (1969), เจย์ (1971) และแอนดรู
(1976) และหนึ่งหลาน, ออสการ์, เกิด 2005 . การ์ดเนอร์อธิบายว่าตัวเองเป็น "เด็กขยันที่ได้รับความสุขมากจากการเล่นเปียโน"ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากในความพยายามปฏิรูปการศึกษาในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี
1980
ทฤษฎีของเขาพหุปัญญาไม่ได้รับการยอมรับอย่างง่ายดายภายในจิตวิทยาการศึกษา แต่ได้รับอิทธิพลอย่างสูงในการศึกษา
แต่เดิมโรงเรียนมีความสำคัญกับการพัฒนาของตรรกะและภาษาศาสตร์ปัญญาปัญญาเหล่านี้จะยังเน้นผ่านมาตรฐานความฉลาดทางปัญญา
, aka ทดสอบ IQ ตามที่การ์ดเนอร์เหล่านี้ทดสอบมาตรฐานที่ใช้ในระบบการศึกษาในปัจจุบันชาวอเมริกันไม่วัดทั้งหมดของพหุปัญญาของเขาซึ่งมีความแตกต่างจากคนสู่คนและทำให้การกำหนดวิธีการที่แต่ละคนเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดทฤษฎีของการ์ดเนอร์ระบุว่านักเรียนจะได้รับการบริการที่ดีขึ้นตามวิสัยทัศน์ที่กว้างขึ้นของการศึกษานั้นครูผู้สอนใช้วิธีการที่แตกต่างกันการออกกำลังกายและกิจกรรมที่จะไปให้ถึงนักเรียนทุกคนไม่เพียงแต่บรรดาผู้ที่
excel ที่ปัญญาทางภาษาและตรรกะ ในปี
1967 ศาสตราจารย์
เนลสันกู๊ดแมนเริ่มต้นโปรแกรมการศึกษาที่เรียกว่าโครงการศูนย์ทางมหาวิทยาลัย
ซึ่งเริ่มขึ้นในพื้นที่ของศิลปะการศึกษา
แต่ตอนนี้ไม่ต่างจากการทำงานในการพัฒนาด้านการศึกษา Howard Gardner และ เดวิดเพอร์กินได้ก่อตั้งและผู้ช่วยวิจัยการ์ดเนอร์และ Perkins ภายหลังร่วมกำกับโครงการเป็นศูนย์จาก 1972-2000 ภารกิจโครงการศูนย์คือการทำความเข้าใจและเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้การคิดและความคิดสร้างสรรค์ในศิลปะเช่นเดียวกับสาขาวิชามนุษย์
และวิทยาศาสตร์ในระดับบุคคลและสถาบันการ์ดเนอร์เป็นผู้รับของ แมคอาเธอได้รับรางวัลทุน ในปี 1981 และในปี 1990 เขากลายเป็นคนแรกของอเมริกาที่จะได้รับจากมหาวิทยาลัยลุยวิลล์ รางวัล Grawemeyer
ในการศึกษา ในปี 2000 เขาได้รับการคบหาจากจอห์นซีเนียร์Guggenheim มูลนิธิอนุสรณ์ ศาสตราจารย์สี่ปีต่อมาเขาได้รับการตั้งชื่อและกิตติมศักดิ์ที่ภาคตะวันออกของจีน Normal University ในเซี่ยงไฮ้ เขาได้รับเลือกจาก นโยบายต่างประเทศ และ Prospect นิตยสารเป็นหนึ่งใน 100 อันดับปัญญาชนสาธารณะที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกในปี 2005 และ 2008 ในปี 2011 เขาได้รับรางวัล สมเด็จเจ้าฟ้ารางวัล Asturias ในสังคมศาสตร์ เขาได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ในวิทยาลัยยี่สิบแปดและมหาวิทยาลัยรวมทั้งสถาบันในประเทศบัลแกเรีย, แคนาดา, ชิลี, กรีซ, ไอร์แลนด์, อิสราเอล, อิตาลี, และเกาหลีใต้ การ์ดเนอร์นั้น มีความเชื่อ
และวิทยาศาสตร์ในระดับบุคคลและสถาบันการ์ดเนอร์เป็นผู้รับของ แมคอาเธอได้รับรางวัลทุน ในปี 1981 และในปี 1990 เขากลายเป็นคนแรกของอเมริกาที่จะได้รับจากมหาวิทยาลัยลุยวิลล์ รางวัล Grawemeyer
ในการศึกษา ในปี 2000 เขาได้รับการคบหาจากจอห์นซีเนียร์Guggenheim มูลนิธิอนุสรณ์ ศาสตราจารย์สี่ปีต่อมาเขาได้รับการตั้งชื่อและกิตติมศักดิ์ที่ภาคตะวันออกของจีน Normal University ในเซี่ยงไฮ้ เขาได้รับเลือกจาก นโยบายต่างประเทศ และ Prospect นิตยสารเป็นหนึ่งใน 100 อันดับปัญญาชนสาธารณะที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกในปี 2005 และ 2008 ในปี 2011 เขาได้รับรางวัล สมเด็จเจ้าฟ้ารางวัล Asturias ในสังคมศาสตร์ เขาได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ในวิทยาลัยยี่สิบแปดและมหาวิทยาลัยรวมทั้งสถาบันในประเทศบัลแกเรีย, แคนาดา, ชิลี, กรีซ, ไอร์แลนด์, อิสราเอล, อิตาลี, และเกาหลีใต้ การ์ดเนอร์นั้น มีความเชื่อ
พื้นฐานเกี่ยวกับสติปัญญาที่สำคัญ
2 ประการ คือ
1.เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษา
และทางคณิตศาสตร์เท่า นั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน
(ดังจะได้กล่าวต่อไป) แต่การ์ดเนอร์เองก็กล่าวว่าอาจจะมีมากกว่า 8 ประเภท
โดยคนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านแตกต่างกันไป
ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถที่แตกต่างกันออกไปนี้
เมื่อผสมผสานออกมาแล้วจะก่อให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัวบุคคล
2.เชาวน์ปัญญาไม่ใช่สิ่งที่มั่นคงถาวรตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย หากแต่สามารถเปลี่ยน แปลงได้ตามสภาพแวดล้อม และการส่งเสริมที่เหมาะสม
การ์ดเนอร์เองได้อธิบายถึงเชาวน์ปัญญาไว้ว่า
ประกอบด้วยความสามารถ 3 ประการ ได้แก่
1.ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพการณ์ต่างๆ
ที่เป็นไปตามธรรมชาติ และตามบริบททางวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล
2.ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประสิทธิภาพ
และสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรม
3.ความสามารถในการแสวงหาหรือตั้งปัญหาเพื่อหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้
องค์ประกอบของทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญา
(เชาวน์ปัญญา 8 ด้าน)
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า
การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าเชาวน์ปัญญาของบุคคลไว้ 8 ด้าน โดย พงษ์ศักดิ์ แป้นแก้ว
(2546 : 109 – 114) ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดดังนี้
1.
สติปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
สติปัญญาด้านภาษา
เป็นความสามารถในการเลือกใช้ถ้อยคำภาษาที่แสดงออกในการสื่อความหมาย โดยมีสมองส่วน Brocals Area ซึ่งเป็นสมองส่วนหน้า
ควบคุมการเรียบเรียงประโยคออกมาเป็นประโยคที่สื่อความตามหลักภาษา
หากสมองส่วนนี้อาจจะทำให้สื่อสารกับผู้อื่นไม่รู้เรื่อง
แต่ยังฟังหรืออ่านสิ่งต่างๆ แล้วเข้าใจได้อยู่
ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาด้านภาษา
-
เป็นบุคคลที่เห็นคุณค่าของหนังสือ
ชอบอ่านหนังสือแล้วพูดหรือเล่าในสิ่งที่อ่าน
-
มีความจำดีในชื่อต่างๆ
สถานที่ วัน เดือน ปี หรือสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่พบ
-
สามารถนึกคิดถ้อยคำต่างๆ
ในใจได้ก่อนที่จะพูดหรืออ่านสิ่งเหล่านั้น
-
สื่อสารกับผู้อื่นโดยใช้ภาษาได้เป็นอย่างดี
-
สนุกสนานกับการเล่นเกมที่เกี่ยวกับการใช้คำ
(อักษรไขว้ ต่อคำ) การพูดคำสัมผัส (การแต่งคำประพันธ์/กลอนสด) การเล่นคำผวน
-
เป็นผู้มีความสามารถด้านการเขียน
สะกดคำได้อย่างถูกต้อง ใช้คำศัพท์ต่างๆ ได้อย่างดี
-
มีความสามารถในการเรียนรู้ภาษาอื่นได้อย่างดี
-
มีความพยายามที่จะพัฒนาการใช้ภาษาของตนเอง
จะสามารถสร้างคำทั้งในการพูดและการเขียนในรูปแบบใหม่ได้อย่างสม่ำเสมอ
-
เป็นคนรักการอ่าน
การเขียน การเล่าเรื่อง แต่งคำประพันธ์ โต้วาที เล่าขำขัน
ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นต่างๆ
-
ชอบเรียนวิชาภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ
ประวัติศาสตร์ มากกว่าคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
-
มีความสนใจในอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา
เช่น กวี นักพูด นักเขียน นักกฎหมาย เป็นต้น
-
มีทักษะทางภาษาที่มีประสิทธิภาพทั้งการฟัง
พูด อ่าน และเขียน
2.
สติปัญญาในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical–Mathematical
Intelligence)
สติปัญญาในด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์
และด้านภาษาที่กล่าวไปข้างต้น มักจะถือว่าเป็นสติปัญญาขั้นทั่วไปของมนุษย์
มักจะวัดผ่านแบบทดสอบต่างๆ
เชาวน์ปัญญาในด้านนี้มีสมองส่วนควบคุมกลไกในการแก้ปัญหาในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
และการคำนวณทางคณิตศาสตร์ การ์ดเนอร์กล่าวถึงสติปัญญาในด้านนี้ว่า มีองค์ประกอบ 3
ด้าน คือ
1.
ด้านการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์
(mathmatics)
2.
ด้านวิทยาศาสตร์
(Science)
3.
ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
(Logic)
ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์
-
เข้าใจสิ่งต่างๆ
และบทบาทของสิ่งเหล่านั้นตามสภาพที่เป็นอยู่ในสิ่งแวดล้อม
-
เข้าใจในเรื่องจำนวน
ตัวเลข และมีทักษะในการคิดคำนวณ เช่น การประมาณค่า การทำนายค่าทางสถิติ
การแสดงผลข้อมูลโดยกราฟแบบต่างๆ
รวมทั้งรู้จักใช้เทคนิคในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
-
มีทักษะในการแก้ปัญหาโดยพิจารณาเหตุและผล
(Critical Thinking)
-
เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
โดยรู้จักใช้สัญลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมเพื่อแสดงในสิ่งที่เป็นนามธรรม
สามารถอธิบายเรื่องมโนมติในเรื่องต่างๆ ได้
-
มีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
(Scientific Method) รู้จักรวบรวมข้อมูล ตั้งสมมติฐาน
ตรวจสอบสมมติฐาน และลงข้อสรุปเพื่อแก้ปัญหาที่พบได้
-
ชอบศึกษาหรือเรียนในวิชาที่ซับซ้อน
เช่น แคลคูลัส วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
-
ชอบในอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ
การใช้เหตุผล และวิทยาศาสตร์ เช่น นักบัญชี นักวิทยาศาสตร์ นักคอมพิวเตอร์
นักกฎหมาย และวิศวกร
-
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในเชิงวิทยาศาสตร์
ชอบศึกษากลไกการทำงานของอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ
3.
สติปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ
(Bodily – Kinesthetic Intelligence)
สติปัญญาในด้านนี้เป็นความสามารถในการใช้ส่วนของร่างกายเพื่อการแสดงออก
สร้าง สรรค์ หรือสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างคล่องแคล่ว
ผู้ที่มีเชาวน์ปัญญาในด้านนี้จะมีสมองส่วนที่เรียกว่า Cortex โดยสมองส่วนหนึ่งจะเป็นหลักในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
อีกด้านหนึ่งไขว้กัน (ขวาควบคุมซ้าย ซ้ายควบคุมขวา)
คนที่ถนัดขวาจะมีการพัฒนาที่ชัดเจนมาตั้งแต่เด็ก
ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ
-
ชอบสำรวจสภาพแวดล้อม
วัตถุต่างๆ โดยการสัมผัส จับต้อง เคลื่อนไหวในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
-
เรียนรู้ได้ดีเมื่อได้เข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรง
จดจำได้ดีในสิ่งที่ลงมือปฏิบัติมากกว่าฟัง หรือสังเกตเพียงอย่างเดียว
-
ชอบเรียนในสิ่งที่เป็นรูปธรรม
เช่น ทัศนศึกษา แบบจำลองสิ่งต่างๆ เล่นบทบาทสมมติ เกม การออกกำลังกาย
-
แสดงทักษะในการทำงานที่มีการเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว
มีความ สามารถด้านกีฬา เป็นนักกีฬา
-
รับรู้และตอบรับกับสภาพแวดล้อมต่างๆ
โดยระบบทางกายภาพ
-
มีทักษะทางการแสดง
กีฬา เต้นรำ เย็บปักถักร้อย แกะสลัก ดนตรี เช่น keyboard
-
ประดิษฐ์คิดค้นวิธีใหม่ๆ
ที่ใช้ทักษะทางร่างกาย เช่น ออกแบบท่าทาง การเต้นรำ คิดกีฬาใหม่ๆ
หรือกิจกรรมทางกายภาพด้านอื่นๆ
-
มีลักษณะที่เป็นคนที่ชอบเคลื่อนไหว
คล่องแคล่ว และสนุกกับการอยู่กลางแจ้งมากกว่าในร่ม ไม่ชอบนั่งนิ่งเป็นเวลานานๆ
-
ชอบทำงานต่างๆ
ที่ใช้มือ ชอบสิ่งของที่จะนำมาสร้างหรือประดิษฐ์เป็นสิ่งต่างๆ ได้
-
ชอบแยกแยะสิ่งต่างๆ
เพื่อสำรวจส่วนประกอบต่างๆ และสามารถประกอบเข้ารูปเหมือนเดิมได้
-
สนใจในวิชาชีพที่เกี่ยวกับการกีฬา
เต้นรำ ศัลยแพทย์ ช่างก่อสร้าง นักประดิษฐ์ เป็นต้น
4.
สติปัญญาด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์
(Visual/Spatial Intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา
และแสดงออกทางความสามารถด้านศิลปะ การวาดภาพ การสร้างภาพ การคิดเป็นภาพ
การเห็นรายละเอียด การใช้สี การสร้างสรรค์งานต่าง ๆ
และมักจะเป็นผู้มองเห็นวิธีแก้ปัญหาในมโนภาพเชาวน์ปัญญาในด้านนี้เป็นเชาวน์ปัญญาที่มนุษย์มีมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
เพราะมนุษย์วาดภาพเพื่อสื่อสารความหมายมาตั้งแต่สมัยนั้น
ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์
-
ชอบมองและสังเกตรายละเอียดของสิ่งต่างๆ
ที่พบเห็นได้ดี ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง ลักษณะ สี
-
บอกตำแหน่งและทิศทางของวัตถุสิ่งของต่างๆ
ได้อย่างรวดเร็ว คล่องแคล่ว และถูกต้อง
-
สามารถอธิบายรายละเอียดของภาพหรือแผนผังต่างๆ
ได้เป็นอย่างดี
-
ชอบการเขียนภาพ
วาดภาพ ประดิษฐ์วัตถุสิ่งของ ทั้งงานปั้นและงานฝีมือต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับงานทัศนศิลป์
-
ชอบเล่นเกมที่เกี่ยวกับการสร้างภาพหรือจินตนาการในใจ
เช่น หมากรุก หมากฮอส อักษรไขว้ ภาพต่อ (Jigsaw) เป็นต้น
-
เขียนแผนผังแสดงตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่างๆ
ได้อย่างถูกต้อง
-
มีความสนใจในการประกอบอาชีพเกี่ยวกับศิลปะ
เช่น นักถ่ายรูป วิศวกร นักออกแบบ จิตรกร รวมทั้งนักบิน สถาปนิก
-
สร้างสรรค์ผลงานแปลกใหม่เกี่ยวกับงานศิลป์เสมอ
-
มีมุมมองในสิ่งต่างๆ
ที่แตกต่างไปจากคนอื่น (New perspective) รวมทั้งมองเห็นในสิ่งที่ซ่อนหรือแฝงอยู่โดยที่คนอื่นอาจไม่เห็นหรือไม่เข้าใจ
เช่น การมองภาพศิลปะ
5. สติปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวาตอนบน
บุคคลที่มีสติปัญญาทางด้านนี้ จะแสดงออกทางความสามารถในด้านจังหวะ การร้องเพลง
การฟังเพลงและดนตรี การแต่งเพลง การเต้น
และมีความไวต่อการรับรู้เสียงและจังหวะต่างๆ
โดยที่บางครั้งอาจดูเหมือนไม่มีความสามารถ เช่น เล่นเปียโนได้
แต่ไม่สามารถเล่นเครื่องดนตรีอื่นๆ ได้ หรือ บางครั้งในการเรียนทฤษฎีดนตรี
อาจจะสอบตก แต่ร้องเพลงได้ไพเราะ เป็นต้น
ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาด้านดนตรี
-
เป็นผู้มีความสุข
สนุกสนานกับการฟังเพลงจากวิทยุ เทป ซีดี
-
ชอบเคาะมือ
เคาะเท้า เป็นจังหวะหรือ ผิวปาก ฮัมเพลง ในขณะทำงาน
-
รู้จักท่วงทำนอง
จังหวะ ลีลาของเพลงต่างๆ มากมาย
-
ร้องเพลงได้ไพเราะหรือเล่นดนตรีต่างๆ
เก่ง
-
มีท่วงที
จังหวะ และลีลาในการพูดหรือเคลื่อนไหว
ที่แสดงออกทานดนตรีได้อย่างเด่นชัด
-
ชอบร้องเพลงคลอตามขณะเปิดเพลง
ชอบการแสดงดนตรี (Concert) ชอบเล่นเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ
-
ชอบสะสมข้อมูลต่างๆ
เกี่ยวกับดนตรี เช่น เทปเพลง เนื้อเพลง ซีดี วีดีโอเพลง เครื่องดนตรีต่างๆ เป็นต้น
-
สนใจฟังเสียงดนตรี
หรือเสียงอื่นๆ รอบๆ ตัว และพยายามหาโอกาสในการฟัง สามารถคิดประกอบกับเสียงดนตรี
หรือเสียงธรรมชาติอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว
-
สามารถฟังและตอบรับกับเสียงต่างๆ
รอบตัว แล้วเรียบเรียงเสียงประสานให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายได้
-
สามารถพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในการร้องเพลงหรือเล่นดนตรีได้ดี
ทั้งการร้องเดี่ยว หรือกับคนอื่นๆ ได้
-
มีความสนใจในอาชีพที่เกี่ยวกับดนตรี
เช่น นักร้อง นักดนตรี ครูสอนดนตรี คนทำเครื่องดนตรี นักแต่งเพลง ผู้อำนวยเพลง
เป็นต้น
6.
สติปัญญาด้านการเข้ากับผู้อื่น
(Interpersonal Intelligence)
เชาว์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนหน้า
หากสมองด้านนี้ถูกทำลายจะทำให้เกิดปัญหาในการเข้าสังคม
ความสามารถที่แสดงออกทางด้านนี้ เห็นได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
การทำงานกับผู้อื่น การเข้าใจและเคารพผู้อื่น การแก้ปัญหาความขัดแย้ง
และการจัดระเบียบ ผู้มีความสามารถทางด้านนี้
มักเป็นผู้ที่มีความไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาด้านการเข้ากับผู้อื่น
-
มีความสัมพันธ์กับครอบครัวและชอบปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
-
สร้างและรักษาความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นในสังคม
-
พยายามใช้วิธีที่หลากหลายเพื่อเข้าไปมีส่วนสัมพันธ์กับผู้อื่น
-
รับรู้และเข้าใจความรู้สึก
ความคิด แรงจูงใจ พฤติกรรม และวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้อื่น
-
เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานกับผู้อื่น
และสามารถรับบทบาทหลายอย่างที่เหมาะสมตั้งแต่ผู้นำจนถึงผู้ตามกลุ่ม
-
มีความสามารถโน้มน้าว
ชักจูง ในการแสดงความคิดเห็น หรือการกระทำของผู้อื่น
-
มีความเข้าใจและสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งด้วยวาจาและไม่ใช้วาจา
-
ปรับพฤติกรรมเข้ากับสภาพแวดล้อมหรือกลุ่มคนที่แตกต่าง
หรือจากข้อมูลย้อนกลับที่ได้จากผู้อื่นได้
-
รับรู้ความคิดที่หลากหลายในเรื่องที่เกี่ยวกับสังคม
หรือการเมืองต่างๆ ได้
-
สนใจพัฒนากระบวนการหรือรูปแบบต่างๆ
ทางสังคม
-
ชอบการปรึกษาหารือในปัญหาต่างๆ
กับผู้อื่น มากกว่าที่จะแก้ปัญหาด้วยตนเอง
-
มีเพื่อนมาก โดยเฉพาะที่สนิทสนมมากๆ
อย่างน้อยที่สุด 3 คน
-
ชอบคุย สนุกกับการได้เข้าสังคม พบปะผู้คน
-
ชอบการเล่นเกม กีฬา ที่มีลักษณะการเล่นเป็นกลุ่ม
-
อาสาสมัครที่จะร่วมทำงานกับผู้อื่นในเรื่องใหม่ๆ
เสมอ
-
แสดงความสามารถในการเป็นผู้นำ
หาเพื่อนๆ ร่วมปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลา
-
เป็นสมาชิกของชมรม
องค์กร หรือคณะกรรมการต่างๆ ที่มีความคล่องแคล่วและกระตือรือร้น
-
มักเป็นผู้ที่มีผู้ขอคำปรึกษาหรือขอคำแนะนำต่างๆ
-
แสดงความสนใจในอาชีพที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับผู้อื่น
เช่น นักการ เมือง ผู้นำทางศาสนา ครู นักแนะแนว นักประชาสัมพันธ์
พิธีกรนักนิเทศศาสตร์ นักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น
7.
สติปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง
(Intrapersonal Intelligence)
บุคคลที่สามารถในการเข้าใจตนเอง
มักเป็นคนที่ชอบคิด พิจารณาไตร่ตรอง มองตนเอง
และทำความเข้าใจถึงความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเอง
มักเป็นคนที่มั่นคงในความคิดความเชื่อต่าง ๆ
จะทำอะไรมักต้องการเวลาในการคิดไตร่ตรอง และชอบที่จะคิดคนเดียว ชอบความเงียบสงบ
สติปัญญาทางด้านนี้ มักเกิดร่วมกับสติปัญญาด้านอื่น
มีลักษณะเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชาว์ปัญญา อย่างน้อย 2 ด้านขึ้นไปผู้ที่ไม่มีสติปัญญาในด้านนี้
มักจะมีบุคลิกเฉื่อยชา เชื่องช้า ไม่ยินดียินร้ายและเศร้าซึม
ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง
-
มีการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสมและมีขอบเขต
-
แสดงความคิดเห็นและความรู้สึกในเรื่องต่างๆ
อย่างพอเหมาะ
-
มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตที่แน่นอนและในรูปแบบที่ถูกต้อง
-
ทำงานได้ด้วยตนเอง
-
มีพัฒนาการในด้านการเรียนรู้และบุคลิกภาพ
-
สามารถทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ
ที่เป็นประสบการณ์ของชีวิตเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
-
เข้าใจถึงความสำคัญของตัวเองที่มีอิทธิพลหรือมีบทบาทและความสัมพันธ์ต่อบุคคลอื่น
8.
สติปัญญาด้านการเป็นนักธรรมชาติวิทยา
(Nationalism Intelligence)
เชาวน์ปัญญาในด้านนี้ การ์ดเนอร์ได้เพิ่มหลังจากที่ตีพิมพ์หนังสือ “Frames of
Mind : The Theory of Multiple Intelligences” แล้ว
แต่ก็ได้กล่าวถึงลักษณะของเชาวน์ปัญญาเหล่านี้ในภายหลังว่า
เชาวน์ปัญญาด้านนี้เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
การจำแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่ สิ่งต่าง ๆ รอบตัว บุคคลที่มีความสามารถทางนี้
มักเป็นผู้รักธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ ตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัว
และมักจะชอบและสนใจสัตว์ ชอบเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง
-
เป็นคนชอบสัตว์ ชอบเลี้ยงสัตว์
-
สนใจสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติรอบตัว
-
สนใจความเป็นไปในสังคมรอบตัว ชอบศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ การดำรงชีวิต
จิตวิทยา
-
คิดถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม
-
เข้าใจธรรมชาติของพืชและสัตว์ได้เป็นอย่างดี รู้จักชื่อต้นไม้
ดอกไม้หลายชนิด
-
ไวต่อความรู้สึก การเปลี่ยนแปลงของดิน ฟ้า อากาศ
- สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี
-
มีความรู้เรื่องดวงดาว จักรวาล สนใจวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
การประยุกต์ทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญากับการสอนในชั้นเรียน
ทิศนา แขมมณี (2545 : 89 – 90) กล่าวว่า การมองและเข้าใจเชาว์ปัญญาในความ
หมายที่ต่างกัน ย่อมก่อให้เกิดการกระทำที่แตกต่างกัน ทฤษฎีพหุปัญญา
ได้ขยายขอบเขตของความหมายของคำว่าปัญญาออกไปอย่างกว้างขวางมากขึ้นจากเดิม
ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนขยายขอบเขตไปอย่างกว้างขวางเช่นกัน
แนวทางการนำทฤษฎีพหุปัญญามาใช้ในการเรียนการสอนมีหลากหลายดังนี้
1.เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน
ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนควรมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
ที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน
มิใช่มุ่งพัฒนาแต่เพียงเชาวน์ปัญญาด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ดังเช่นในอดีต
เรามักจะมีการเน้นการพัฒนาด้านภาษาและด้านคณิตศาสตร์หรือด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
อันเป็นการพัฒนาสมองซีกซ้ายเป็นหลัก
ทำให้ผู้เรียนไม่มีโอกาสพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านอื่น ๆ เท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ผู้เรียนที่มีเชาวน์ปัญญาด้านอื่นสูง
จะขาดโอกาสที่จะเรียนรู้และพัฒนาในด้านที่ตนมีความสามารถหรือถนัดเป็นพิเศษ การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการของสติปัญญาหลาย
ๆ ด้าน จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองอย่างรอบด้าน
พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมอัจฉริยภาพหรือความสามารถเฉพาะตนของผู้เรียนไปในตัว
2.เนื่องจากผู้เรียนมีระดับพัฒนาการในเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เท่ากัน
ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการในแต่ละด้านของผู้เรียน
ตัว อย่างเช่น
เด็กที่มีเชาวน์ปัญญาด้านดนตรีสูงจะพัฒนาปัญญาด้านดนตรีของตนไปอย่างรวดเร็ว
ต่างจากเด็กคนอื่น ๆ ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
เด็กที่มีขั้นพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งสูง
ควรต้องแตกต่างไปจากเด็กที่มีขั้นพัฒนาการในด้านนั้นต่ำกว่า
3.เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน
การผสมผสานของความสามารถด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่ไม่เท่ากันนี้ ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์
(Uniqueness) หรือลักษณะเฉพาะของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน
หรืออีกนัยหนึ่ง เอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลทำให้แต่ละคนแตกต่างกัน
และความแตกต่างที่หลากหลาย (Diversity) นี้
สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม ดังนั้น กระบวนการคิดที่ว่าคนนี้โง่
หรือเก่งกว่าคนนั้นคนนี้จึงควรจะเปลี่ยนไป การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน
ครูควรสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง
และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น
รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
เช่นนี้ ผู้เรียนก็จะเรียนรู้อย่างมีความสุข มีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง
เห็นคุณค่าในตนเอง ในขณะเดียวกันก็มีความเคารพในผู้อื่น
และอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลกัน
4.ระบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนไปจากแนวคิดเดิมที่ใช้การทดสอบเพื่อวัดความสามารถทางเชาวน์ปัญญาเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
และที่สำคัญคือ ไม่สัมพันธ์กับบริบทที่แท้จริงที่ใช้ความสามารถนั้น ๆ ตามปกติ
วิธีการประเมินผลการเรียนการสอนที่ดี ควรมีการประเมินหลาย ๆ ด้าน
และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้น
ๆ การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหา
หรือการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้น
อีกวิธีหนึ่งคือการให้เรียนอยู่ในสภาพการณ์ที่ซับซ้อนซึ่งต้องใช้สติปัญญาหลายด้าน
หรือการให้อุปกรณ์ซึ่งสัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาหลาย ๆ ด้าน และสังเกตดูว่า
ผู้เรียนเลือกใช้เชาวน์ปัญญาด้านใด
หรือศึกษาและใช้อุปกรณ์ซึ่งสัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านใด มากเพียงไร
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น